โครงการ/กิจกรรม > ศาสนสถานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green religion)
ศาสนสถานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green religion)
ไปยังระบบงาน
ความเป็นมา
ข่าวสารโครงการ
ดาวน์โหลดเอกสาร
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดย สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน มีภารกิจหลักในการส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนมีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เล็งเห็นความสำคัญของศาสนสถานในการส่งเสริม รักษาสิ่งแวดล้อม เนื่องจากศาสนสถานเป็นศูนย์กลางของชุมชน การพัฒนาคน และศูนย์รวมจิตใจของศาสนิกชน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมพัฒนาการจัดการสิ่งแวดล้อมวัด เพื่อให้ผู้นำศาสนา กรรมการ เกิดความตระหนักต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม และเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อให้วัดมีสิ่งแวดล้อมที่ดีเหมาะกับการประกอบศาสนกิจ และเกิดเครือข่ายในการช่วยขยายองค์ความรู้ให้กับชุมชน ผ่านทางผู้นำศาสนา ซึ่งเป็นที่เคารพเลื่อมใส ศรัทธาของชุมชน
G RELIGION - วัดกับการจัดการสิ่งแวดล้อม
"วัด" เป็นเสมือนศูนย์รวมจิตใจของศาสนิกชนชาวพุทธ แต่ท่ามกลางกระแสสังคมที่นิยมความสะดวกสบาย และรวดเร็วในปัจจุบันทำให้วิถีการทำบุญเปลี่ยนแปลงไป เช่น การนิยมถวายอาหารสำเร็จรูป ถวายอาหารถุง ถวายเครื่องสังฆทานแบบถังสำเร็จรูป ที่บรรจุของไม่มีคุณภาพอีกทั้งค่านิยมที่ปฏิบัติกันมาอย่างต่อเนื่อง เช่น การใช้พวงหรีดดอกไม้สด ที่ยากต่อการกำจัดและไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ อีกทั้งการจุดธูปที่มีส่วนผสมของสารเคมี ซึ่งควันธูปนั้นเต็มไปด้วยสารก่อมะเร็งหลายชนิด พฤติกรรมที่กล่าวมานั้นล้วนส่งผลต่อสุขภาพอนามัยของพระสงฆ์ พุทธศาสนิกชน รวมทั้งสภาพแวดล้อมภายในวัด การพัฒนาการจัดการสิ่งแวดล้อมในวัดถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการดูแลสุขภาพอนามัยทั้งทางกายและทางใจของพระภิกษุสงฆ์ สามเณร และประชาชนทั่วไป โดยเน้นการจัดการสิ่งแวดล้อมด้านการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะท้องถิ่นและชุมชนสามารถพัฒนาให้เป็นตัวอย่างที่ดีด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมให้กับวัด หน่วยงานหรือผู้สนใจอย่างเป็นรูปธรรม
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้นำศาสนาและพุทธศาสนิกชนมีความรู้ความเข้าใจและมีจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม
เพื่อให้ศาสนสถานมีสิ่งแวดล้อมที่ดีเหมาะกับการประกอบศาสนกิจ
เพื่อให้ศาสนสถานมีส่วนร่วมและเป้นเครื่อข่ายในการสร้างความตระหนักและจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมให้กับชุมชน
ทำแล้วได้อะไร
ศาสนสถานมีสิ่งแวดล้อมที่ดี เหมาะแก่การประกอบศาสนกิจ
ผู้นำศาสนาเป็นเครือข่ายในการสร้างความตระหนักและจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมให้กับชุมชน
ขั้นตอนการดำเนินงาน
เกณฑ์การประเมินการจัดการสิ่งแวดล้อมในวัด
ระดับการผ่านเกณฑ์
วัดที่ผ่านเกณฑ์การตรวจประเมินการจัดการสิ่งแวดล้อมในวัด คือ วัดที่ได้คะแนนรวมร้อยละ 65 ขึ้นไป โดยมีระดับผ่านเกณฑ์ 3 ระดับ คือ
ระดับดีเยี่ยม คะแนนร้อยละ 85 ขึ้นไป
ระดับดีมาก คะแนนร้อยละ 75 - 84.9
ระดับดี คะแนนร้อยละ 65 - 74.9
G RELIGION - มัสยิดกับการจัดการสิ่งแวดล้อม
การจัดการสิ่งแวดล้อมในมัสยิดเป็นโครงการที่มุ่งเน้นพัฒนามัสยิดให้มีสิ่งแวดล้อมที่ดีตามหลักศาสนาอิสลาม ด้วยการส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีเหมาะสมกับเป็นบ้านของ อัลลอฮุ (ศุบอฮฯ) เหมาะสมในการประกอบศาสนกิจ และขยายผลด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมให้มีผลในระดับภูมิภาคและระดับประเทศต่อไป