น้ำทะเลแบบใด ทำให้เกิดปะการังฟอกขาว 27 พฤษภาคม 2567  58  กองขับเคลื่อนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม DCCE



               ภัยคุกคามปะการังฟอกขาว
                    ปะการังฟอกขาว เกิดขึ้นได้จากหลากหลายปัจจัยที่ส่งผลให้ปะการังเครียด ทั้งการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เช่น การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิน้ำทะเล ความเป็นกรด-ด่าง ความเค็ม คุณภาพน้ำทะเล มลพิษ และคราบน้ำมันหรือสารเคมีต่าง ๆ แต่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดปะการังฟอกขาวและทำให้ปะการังตายในบริเวณกว้างในปัจจุบันคือการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิน้ำทะเล
                    ปัจจัยที่ทำให้เกิดปะการังฟอกขาว 
                              น้ำร้อน – อุณหภูมิน้ำทะเลเพิ่มขึ้นหรือลดลง โดยปะการังในน่านน้ำไทยดำรงชีวิตอยู่ได้ในน้ำทะเลที่อุณหภูมิประมาณ 28-29 องศาเซลเซียส
                              น้ำจืด – ความเค็มลดลงเนื่องจากอิทธิพลของน้ำจืด น้ำฝน 
                              น้ำแห้ง - ปะการังโผล่พ้นน้ำเมื่อระดับน้ำลดต่ำลง 
                              น้ำเสีย – เช่น น้ำมัน น้ำเสีย ขยะทะเล และสารเคมี เป็นต้น
                              น้ำขุ่น – ตะกอนจากชายฝั่งหรือเรือวิ่ง 
                              น้ำกรด – การเปลี่ยนแปลงของค่ากรด-ด่าง
                    ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวอันเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน (อุณหภูมิน้ำทะเลเพิ่มขึ้น) กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ปะการังได้รับความเสียหายและมีจำนวนลดลงอย่างรวดเร็ว และมีแนวโน้มว่าจะมีความถี่และทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น โดยมักจะพบปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวในฤดูร้อน ช่วงเดือนเมษายน – เดือนพฤษภาคม ที่อุณหภูมิน้ำทะเลสูงเกิน 30 องศาเซลเซียส ต่อเนื่องกันหลายวัน ซึ่งในปี พ.ศ. 2567 อุณหภูมิน้ำทะเลก็มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนจัดติดต่อกัน จึงมีความเสี่ยงในการเกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวในแนวปะการังของประเทศไทย

แหล่งที่มา : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 

"ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน"

20 เมษายน 2564  488

อุตสาหกรรมอาหารที่ลดภาระต่อสิ่งแวดล้อม

28 พฤษภาคม 2567  18

เราทุกคน..... ช่วยป้องกันปะการังให้รอดได้