สส. ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดพิธีสาปแช่ง คนเผาป่า และเวทีสมัชชาเครือข่ายสิ่งแวดล้อมม้ง ผสานภูมิปัญญาและองค์ความรู้การจัดการไฟป่า รับมือโลกเดือด 22 กุมภาพันธ์ 2567  51  กองขับเคลื่อนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม DCCE



วันนี้ (22 กุมภาพันธ์ 2567) กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรม“พิธีสาปแช่ง คนเผาป่า” และเวทีสมัชชาเครือข่ายสิ่งแวดล้อมม้ง 14 จังหวัดภาคเหนือผสานภูมิปัญญาและองค์ความรู้การจัดการไฟป่า และการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รับมือกับปัญหาโลกเดือด ณ ศูนย์เรียนรู้การจัดการอย่างมีส่วนร่วมอินทนนท์ และห้องประชุมอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนนท์ ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้บูรณาการความร่วมมือ กับภาคีเครือข่ายและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในรูปแบบอาสาสมัคร ร่วมปฏิบัติงานกับภาครัฐและเสริมสร้างเครือข่ายอาสาสาสมัครเฝ้าระวังไฟป่า ลดหมอกควัน ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ โดยกำหนดให้อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ - ออบหลวงและพื้นที่โดยรอบจังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่บูรณาการความร่วมมือ สื่อสาร สร้างการรับรู้ให้กับชุมชน ผสมผสานความรู้ทางวิชาการและภูมิปัญญา ที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ ใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง เน้นการจัดการแบบมีส่วนร่วมทุกภาคีเครือข่ายส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่เกิดความเข้าใจ เข้ามามีส่วนร่วมดำเนินงานช่วยเจ้าหน้าที่ดูแลไฟป่าในพื้นที่ และร่วมขยายแนวเครือข่าย ในการดำเนินการมากยิ่งขึ้น รวมถึงยกระดับพัฒนาเป็นพื้นที่รูปธรรม สอดคล้องกับนโยบายสำคัญของรัฐบาล และเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความต่อเนื่อง กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมกับ เครือข่ายลุ่มน้ำภูมินิเวศดอยอินทนนท์ เครือข่ายอาสาสมัครเฝ้าระวังไฟป่า ลดหมอกควัน หน่วยงานในพื้นที่ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมป่าไม้ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานบันการศึกษา ภาคธุรกิจเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงความสำคัญในการ พัฒนาองค์ความรู้ สร้างความเข้าใจ ให้กับชุมชน เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือและการปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยอาศัยกลไกการมีส่วนร่วมของทุกภาคีเครือข่าย และเครือข่าย ทสม.จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งปัจจุบันมี ทสม. จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 6,897 คน ในการมีส่วนร่วมบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ขยายผลไปสู่พื้นที่อื่นๆ
“พิธีสาปแช่ง คนเผาป่า” ผสานภูมิปัญญาและองค์ความรู้การจัดการไฟป่า และการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเวทีสมัชชาเครือข่ายสิ่งแวดล้อมม้งในวันนี้ มีกลุ่มเป้าหมาย 450 คน ได้แก่ เครือข่ายลุ่มน้ำภูมินิเวศดอยอินทนนท์ เครือข่ายอาสาสมัครเฝ้าระวังไฟป่า ลดหมอกควัน เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) จังหวัดเชียงใหม่ เครือข่ายสมัชชาสิ่งแวดล้อมม้ง 14 จังหวัด กลุ่ม สมาคมม้งต่างๆ (ได้แก่ สมาคมม้งแห่งประเทศไทย สภาคริสตจักรภาค สมาคมพ่อค้าม้ง เครือข่าย 18 ตระกูลแซ่ สมาคมม้งกรุงเทพ) กลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์การเกษตร ที่พักดอยอินทนนท์เครือข่ายองค์กรชุมชน เครือข่ายเยาวชนนักศึกษาชาติพันธุ์ม้ง (Hmong YOLO Gen Z) สมาคมอิมเปค (Impect) เจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลบ้านหลวง ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านตำบลบ้านหลวง เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เจ้าหน้าที่หน่วยจัดการต้นน้ำแม่กลาง สถานีควบคุมไฟป่าดอยอินทนนท์ เจ้าหน้าที่สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ภาคเหนือ) องค์กรพัฒนาเอกชน อุตสาหกรรมท่องเที่ยว จังหวัดเชียงใหม่ สื่อมวลชน ผู้สังเกตการณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีนายศักดิ์วิทยา ธฤติธนเกียรติ ปลัดอาวุโส อำเภอจอมทอง นางสาวอุมา ศรีสุข ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการมีส่วนร่วมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม นายชัชชวาลย์ ทองดีเลิศ ประธานสภาลมหายใจเชียงใหม่ เป็นประธานร่วมในพิธีเปิด
กิจกรรมสำคัญประกอบไปด้วย เวที อภิปราย แลกเปลี่ยน เรียนรู้ “คนอยู่ได้ ป่าอยู่ได้” สถานการณ์โลกร้อน-นโยบายรัฐ กับการปรับตัว บทเรียนองค์ความรู้ และภูมิปัญญาในการจัดการไฟป่า ลดหมอกควัน การขับเคลื่อนการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ พิธีรวมพลังป้องกันไฟป่า ลดหมอกควัน กิจกรรม “พิธีสาปแช่ง คนเผาป่า” ภูมิปัญญา ท้องถิ่น ในการพิทักษ์รักษาผืนป่า สายน้ำและป้องกันไฟป่า ลดหมอกควัน และร่วมทำแนวกันไฟพื้นที่อนุรักษ์ ภูมินิเวศดอยอินทนนท์ การมอบกองทุนสนับสนุนชุมชนและเครือข่าย จัดการไฟป่าและหมอกควัน จำนวน 32 กองทุน และน้ำดื่มในการเฝ้าระวังและเข้าดับไฟป่า
และอีกหนึ่งเวทีที่สำคัญ เวทีสมัชชาเครือข่ายสิ่งแวดล้อมม้ง ประจำปี 2567 ภายใต้แนวคิดและรูปแบบ “มอง มุม ม้ง ตั้งรับ ปรับตัว เฝ้าระวังปัญหาไฟป่า ฝุ่นควัน ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ อย่างยั่งยืน” ที่เป็นกลไกสำคัญในสื่อสารและขับเคลื่อนงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับสถานการณ์ และการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ในยุคปัจจุบัน ให้ความสำคัญกับงานด้านสิ่งแวดล้อม มีการเตรียมความพร้อมในการรับมือและการปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) สร้างความรู้ความเข้าใจนโยบายรัฐและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวการใช้ที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการพัฒนาโมเดลเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน (BCG M0del: Bio-Cirular-Green Economy) และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน เพื่อเป็น การพัฒนาและยกระดับการทำงานของเครือข่ายสิ่งแวดล้อมม้ง สู่จัดการสิ่งแวดล้อมและขับเคลื่อนสิทธิในการเข้าถึงฐานทรัพยากรอย่างมีส่วนร่วม

"ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน"















22 กุมภาพันธ์ 2567  34

สส. ขานรับวิสัยทัศน์ นายกรัฐมนตรี Ignite Thailand จุดพลัง รวมใจ ไทยต้องเป็นหนึ่ง

28 กุมภาพันธ์ 2567  26

สส. แนะทางรอดสู่ความยั่งยืน ในงาน Rethink Sustainability : A Call to Action for Thailand