สส. MOU สร้างความร่วมมือขับเคลื่อนงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เสริมขีดความสามารถของประเทศ 21 พฤษภาคม 2567  102  กองขับเคลื่อนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม DCCE



                    เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2567 กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (สส.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือสนับสนุนการดำเนินงานอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  (สกสว.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ  (สอวช.)  และที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)เสริมสร้างความร่วมมือและขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เสริมสร้างขีดความสามารถ และสร้างโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของประเทศ
                    ดร. พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม  กล่าวว่า กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม  มีหน้าที่ขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อให้บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ โดยผ่านกลไก การสนับสนุนและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ดังนั้น ความร่วมมือเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย โดยบันทึกความเข้าใจความร่วมมือนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเสริมสร้างขีดความสามารถ และสร้างโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของประเทศ  รวมถึงการนำผลงานวิทยาศาสตร์ วิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ ทั้งเชิงนโยบาย เชิงวิชาการ เชิงพาณิชย์ เชิงพื้นที่ อีกทั้งเกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และการบริหารจัดการระบบฐานข้อมูลนักวิจัย ฐานข้อมูลวิจัย และการผลักดันงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ในวงกว้าง
                    ในความร่วมมือครั้งนี้ สส. จะจัดทำกรอบงานวิจัย เพื่อให้สอดคล้องเป้าหมาย NDC ที่กำหนด และการปรับตัว    ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ สำหรับ สกสว. จะสนับสนุนการจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับกรอบงานวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่วน สอวช. จะร่วมพัฒนาและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และนโยบายอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ออกแบบมาตรการกลไกส่งเสริม ปลดล็อคอุปสรรคที่เกี่ยวข้องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนปฏิบัติงานในฐานะหน่วยประสานงานกลางด้านการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย ในส่วนของศูนย์เทคโนโลยีภูมิอากาศและเครือข่าย (Climate Technology Centre and Network: CTCN) ภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งร่วมกับ สส. และ สกสว. ในการประเมินความต้องการเทคโนโลยี (Technology Needs Assessment) การจัดทำแผนที่นำทางเทคโนโลยี (Technology Roadmap) แผนปฏิบัติการเทคโนโลยี (Technology Action Plan) และการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ ทปอ. จะกำหนดนโยบายกลไกการทำงานของเครือข่ายมหาวิทยาลัยขับเคลื่อนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Campus) เพื่อนำไปสู่ Low Carbon and Climate Resilient Society สร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิจัยและสร้างองค์ความรู้ใหม่ ถ่ายทอดและดูดซับเทคโนโลยี (Technology Transfer and Localization) พัฒนานวัตกรรม ขับเคลื่อนเชิงพื้นที่ พัฒนาบุคลากรและผู้เชี่ยวชาญ (Upskill and Reskill) หรือ ผลิตที่ปรึกษาและผู้ตรวจประเมินภายนอกสำหรับการตรวจสอบความใช้ได้และการทวนสอบ (Validation and Verification) ด้านก๊าซเรือนกระจกและพัฒนาแพลตฟอร์มกลางติดตามการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของเครือข่ายมหาวิทยาลัย  ซึ่งการร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยผลักดัน ขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เสริมสร้างขีดความสามารถ และสร้างโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของประเทศต่อไป

"ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน"

21 พฤษภาคม 2567  28

สส. ร่วมกันปลูกต้นไม้เนื่องใน วันต้นไม้ประจำปีของชาติ พ.ศ. 2567 เพิ่มพื้นที่สีเขียว ช่วยกักเก็บคาร์บอน

22 พฤษภาคม 2567  45

สส. จัดกิจกรรมจิตอาสารณรงค์คัดแยกขยะ ประเพณีเตียวขึ้นดอยสุเทพ 2567 เส้นทางบุญ ปลอดขยะ (ลด-แยก-ทิ้งตามจุด)