โครงการภาคีเครือข่ายร่วมใจลดก๊าซเรือนกระจก เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

โครงการภาคีเครือข่ายร่วมใจลดก๊าซเรือนกระจก
เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล
เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567
1. หลักการและเหตุผล
เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2567 นับเป็นมหามงคลสมัยพิเศษยิ่งที่ปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป จะได้แสดงความจงรักภักดี และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงห่วงใย คำนึงถึงความอยู่ดีมีสุขของประชาชน และทรงมีพระราชปณิธานที่จะสืบสาน รักษา และต่อยอดพระราชกรณียกิจ และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่างๆ ในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชนและประเทศชาติ โดยเฉพาะการสานต่อพระราชดำริเกี่ยวกับการอนุรักษ์ บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการและต่อเนื่อง เพื่อให้คนและธรรมชาติสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน ประกอบกับคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้ให้หน่วยงานดำเนินการเสนอโครงการและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานหลักที่มีบทบาทภารกิจสำคัญในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้บรรลุเป้าหมายของประเทศ สู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065 ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้บูรณาการสร้างความร่วมมือในการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และเครือข่ายภาคประชาชน เพื่อสนับสนุนภารกิจที่หลากหลายบริบทพื้นที่ และหลากหลายประเภทกิจกรรม เช่น การจัดการของเสีย การปลูกป่า/ต้นไม้ การอนุรักษ์หรือฟื้นฟูป่า การใช้พลังงาน การขนส่งพลังงาน หรือพัฒนาพลังงานทดแทน เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการปลดปล่อย และการดูดกลับก๊าซเรือนกระจกที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายของประเทศได้
ดังนั้น เพื่อร่วมแสดงพลังการขับเคลื่อนการดำเนินงานในการลดก๊าซเรือนกระจกของภาครัฐที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ผ่านการดำเนินกิจกรรมการลดก๊าซเรือนกระจก รวมถึงสร้างความตระหนักให้แก่องค์กร หน่วยงาน และชุมชน ในการมีส่วนร่วมลดก๊าซเรือนกระจก และดำเนินกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม จึงได้ร่วมกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) จัดโครงการ “ภาคีเครือข่ายร่วมใจลดก๊าซเรือนกระจก” เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ขึ้น เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลและเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แสดงความจงรักภักดี และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่หาที่สุดมิได้ที่มีต่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และรักษาสมดุลของระบบนิเวศ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อนำมาสู่ความผาสุกของพี่น้องปวงชนชาวไทยอย่างยั่งยืน
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อเแลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567
2.2 เพื่อสนับสนุนให้หน่วยงานทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก และสร้างพลังการขับเคลื่อนการดำเนินงานการลดก๊าซเรือนกระจก
2.3 เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกของหน่วยงานทุกภาคส่วนที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
3. กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 แห่ง
3.1 หน่วยงานทุกภาคส่วนที่เข้าร่วมโครงการ
3.2 ภาคีเครือข่าย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4. รูปแบบการดำเนินการ
กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ดำเนินการ ดังนี้
4.1 การสื่อสารประชาสัมพันธ์ และเชิญชวนหน่วยงานทุกภาคส่วนเข้าร่วมโครงการฯ ผ่านช่องทางต่างๆ ระหว่างเดือนพฤษภาคม – กันยายน 2567
(1) ประชาสัมพันธ์ และเชิญชวนหน่วยงานร่วมดำเนินโครงการ “ภาคีเครือข่ายร่วมใจลดก๊าซเรือนกระจก” เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567
(2) สื่อสารให้ความรู้เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
(3) สร้างความรู้ความเข้าใจในการดำเนินกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกของหน่วยงาน และการเข้าร่วมโครงการ “ภาคีเครือข่ายร่วมใจลดก๊าซเรือนกระจก”
4.2 การดำเนินโครงการ “ภาคีเครือข่ายร่วมใจลดก๊าซเรือนกระจก” ระหว่างเดือนมิถุนายน – กันยายน 2567
4.2 การดำเนินโครงการ “ภาคีเครือข่ายร่วมใจลดก๊าซเรือนกระจก” ระหว่างเดือนมิถุนายน – กันยายน 2567
(1) สนับสนุนให้หน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการฯ ดำเนินงานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ขั้นตอน และกรอบระยะเวลาที่กำหนด
(2) รวบรวมจัดเก็บข้อมูลหน่วยงานที่เข้าร่วมโดดดครงการฯ ตามประเภทของกิจกรรมที่ลดก๊าซเรือนกระจก
(3) สรุปผลการดำเนินกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกของหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการฯ ส่งไปรับรองผลการประเมินปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจกผ่านโครงการ LESS (Low Emission Support Scheme) จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เพื่อขอใบประกาศเกียรติคุณ (Letter of Recognition : LOR) ให้กับหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการฯ
4.3 การจัดแสดงผลงานโครงการ “ภาคีเครือข่ายร่วมใจลดก๊าซเรือนกระจก” ในเดือนตุลาคม 2567
ดำเนินการนำเสนอข้อมูลผลการดำเนินโครงการภาคีเครือข่ายร่วมใจลดก๊าซเรือนกระจก ในการจัดประชุมภาคีการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย (Thailand Climate Action Conference) หรือ TCAC 2024 ซึ่งภายในงานมีกิจกรรม ดังนี้
(1) การจัดแสดงนิทรรศการ และกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567
(2) การจัดนิทรรศการการนำเสนอข้อมูลการดำเนินงานการลดก๊าซเรือนกระจก และการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย ทั้งด้านการลดก๊าซเรือนกระจก และด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
(3) การบรรยายให้ความรู้/การนำเสนอตัวอย่างและแนวคิด/เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการขับเลื่อนการปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของภาครัฐและประเทศไทย เช่น การส่งเสริมเศรษฐกิจ “สีเขียว” และการพัฒนาพลังงาน “สีเขียว” การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ช่วยลดก๊าซเรือนกระจก เป็นต้น
(4) การคำนวณการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากกิจกรรมการจัดงาน เพื่อมาชดเชยปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Carbon Neutral Event
4.4 การรายงานผลการดำเนินโครงการฯ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม 2567
ดำเนินการรายงานผลการดำเนินโครงการฯ โดยการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น Facebook, Line, Website ของหน่วยงาน
(ทั้งนี้ โครงการที่ดำเนินการ จะต้องคำนึงถึงความสมพระเกียรติ ความจำเป็น และเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม กรณีส่วนราชการประสงค์ขอใช้ตราสัญลักษณ์ ให้ดำเนินการตามที่คณะกรรมการฝ่ายกลั่นกรองการขอใช้ตราสัญลักษณ์กำหนด)
5. วัน เวลา และสถานที่
5.1 พฤษภาคม – ธันวาคม 2567
5.2 แผนการดำเนินงาน
ที่ | กิจกรรม | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. |
1 | การสื่อสารประชาสัมพันธ์ และเชิญชวนหน่วยงานทุกภาคส่วนเข้าร่วมโครงการฯ | ||||||||
1.1 ประชาสัมพันธ์ และเชิญชวนหน่วยงานร่วมโครงการฯ | / | ||||||||
1.2 สื่อสารให้ความรู้เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจ | / | / | / | / | / | ||||
1.3 สร้างความรู้ความเข้าใจในการดเนินกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกของหน่วยงาน และการเข้าร่วมโครงการฯ | / | / | / | / | / | ||||
2 | การดำเนินโครงการ “ภาคีเครือข่ายร่วมใจลดก๊าซเรือนกระจก” | ||||||||
2.1 สนับสนุนให้หน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการฯ ดำเนินงานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ขั้นตอน และกรอบระยะเวลาที่กำหนด | / | / | / | / | |||||
2.2 รวบรวมจัดเก็บข้อมูลหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการฯ ตามประเภทกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก | / | / | / | / | |||||
2.3 รวบรวมผลการดำเนินกิจกรรมฯ ของหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการฯ ส่งไปรับรองผลการประเมินปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจก ผ่านโครงการ LESS เพื่อขอใบประกาศเกียรติคุณ | / | ||||||||
3 | การจัดแสดงผลงานโครงการ “ภาคีเครือข่ายร่วมใจลดก๊าซเรือนกระจก” โดยการนำเสนอข้อมูลผลการดำเนินโครงการฯ ในการจัดประชุมภาคีการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย มีกิจกรรม ดังนี้
1) จัดแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ 2) การจัดนิทรรศการลดก๊าซเรือนกระจก และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของหน่วยงานที่ร่วมประชุมฯ 3) เวทีบรรยายให้ความรู้ นำเสนอตัวอย่าง/แนวคิด และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 4) การคำนวณการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากกิจกรรมการจัดงาน เพื่อมาชดเชยปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Carbon Neutral Event |
/ | |||||||
4 | การรายงานผลการดำเนินโครงการฯ โดยการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่างๆ | / | / |
6. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
6.1 ได้ร่วมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
6.2 สร้างความตระหนักให้แก่ตนเอง องค์กร หน่วยงาน และชุมชนในการมีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจก และดำเนินกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
6.3 เป็นแบบอย่างที่ดีในการรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ผ่านการดำเนินงานการลดก๊าซเรือนกระจก
7. ตัวชี้วัดความสำเร็จ
7.1 จำนวนหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 30 แห่ง
7.1 จำนวนหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 30 แห่ง
7.2 หน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการฯ มีส่วนร่วมและรวมพลังขับเคลื่อนการดำเนินงานการลดก๊าซเรือนกระจก
8. ผู้รับผิดชอบโครงการ
8.1 กองส่งเสริมการมีส่วนร่วมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
8.2 สำนักแผนกลยุทธ์และอำนวยการ
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)