Early Warning for All “ระบบเตือนภัยล่วงหน้าสำหรับทุกคน”
“ระบบเตือนภัยล่วงหน้าสำหรับทุกคน” ริเริ่มโดยองค์การสหประชาชาติ เมื่อปี ค.ศ. 2022 มีเป้าหมายให้ประชากรโลกได้รับการปกป้องจากภัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ น้ำ หรือสภาพภูมิอากาศ ผ่านระบบเตือนภัยภัยพิบัติทุกรูปแบบ (Multi-Hazard Early Warning Systems: MHEWS) ภายในสิ้นปี ค.ศ. 2027 ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายด้านการปรับตัวระดับโลก (Global Goal on Adaptation: GGA)
ระบบเตือนภัยภัยพิบัติทุกรูปแบบเป็นระบบที่บูรณาการการแจ้งเตือนล่วงหน้าเกี่ยวกับเหตุการณ์สภาพอากาศหรือภูมิอากาศที่อาจเป็นอันตราย พร้อมทั้งให้ข้อมูลแนวทางปฏิบัติแก่รัฐบาล ชุมชน และประชาชน เพื่อบรรเทาผลกระทบ ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 4 เสาหลัก ได้แก่
Figure 1. Graphical presentation of a Multi-Hazard Early Warning System (MHEWS)
- เสาหลักที่ 1:ความรู้และการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติ
(ดำเนินการโดย United Nations Office for Disaster Risk Reduction :UNDRR)
ข้อมูลความเสี่ยงที่ครบถ้วนและถูกต้อง เป็นพื้นฐานสำคัญของระบบเตือนภัยล่วงหน้าที่มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องอาศัยความเข้าใจเชิงลึกในระดับพื้นที่ที่เกี่ยวกับภัยพิบัติ ความเปราะบาง ความเป็นอยู่
ของประชาชน โครงสร้างทางสังคม และบริบทเฉพาะถิ่น เพื่อประเมินความเสี่ยงได้อย่างแม่นยำ
และวางแผนการรับมือได้อย่างเหมาะสม - เสาหลักที่ 2:การตรวจวัด การสังเกต การเฝ้าติดตาม การวิเคราะห์ และการพยากรณ์
(ดำเนินการโดย World Meteorological Organization: WMO)
ระบบเตือนภัยล่วงหน้าจำเป็นต้องอาศัยข้อมูลจากการสังเกตทั้งบนพื้นดินและดาวเทียม
มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศอย่างเสรี เพื่อนำไปสู่การสร้างแบบจำลองและการพยากรณ์
ที่แม่นยำด้วยซูเปอร์คอมพิวเตอร์ - เสาหลักที่ 3:การเผยแพร่และการสื่อสารเกี่ยวกับการเตือนภัย
(ดำเนินการโดย International Telecommunication Union: ITU)
ประชาชนต้องได้รับการเตือนภัยล่วงหน้าก่อนเกิดภัย ผ่านช่องทางที่เหมาะสม เชื่อถือได้ เข้าใจง่าย และทันเวลา กระบวนการออกแบบการสื่อสารต้องคำนึงถึงกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้หญิง เด็ก คนพิการ และชนพื้นเมือง เพื่อให้ทุกคนสามารถรับมือกับภัยพิบัติได้อย่างเท่าเทียม - เสาหลักที่ 4:ความพร้อมและความสามารถในการตอบสนอง
(ดำเนินการโดย International Federation of Red Cross and Red Crescent Societies: IFRC)
การเตรียมความพร้อมเป็นหัวใจสำคัญของการลดผลกระทบจากภัยพิบัติ ต้องสามารถตอบสนอง
ต่อภัยได้ทันที แม้เหตุการณ์จะยังไม่เกิดขึ้นจริง แผนการเตรียมความพร้อมควรมีความชัดเจน
ได้รับการฝึกซ้อมและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง พร้อมคำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลง
เช่น สภาพภูมิอากาศ เป็นต้น และให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางเป็นลำดับแรก
ที่มา :World Meteorological Organization (WMO), “Early Warnings for All: Executive Action Plan 2023-2027 (The UN Global Early Warning Initiative for the Implementation of Climate Adaptation)”, 2022. Available at https://library.wmo.int/index.php?lvl=notice_display&id=22154#.Y_qoaHbP3IW
ESCAP, U., & Warning, R. I. M. H. E. (2023). Compendium of multi-hazard early warning cooperation. Available at https://hdl.handle.net/20.500.12870/5683
เรียบเรียงบทความโดย :นางสาวสุชาดา ขำวรพันธ์