รู้จัก “Greenhouse Gases หรือก๊าซเรือนกระจก” ตัวการ “โลกร้อน”
               ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases) คือ ก๊าซที่อยู่ในชั้นบรรยากาศโลก มีหน้าที่สำคัญในการ “กักเก็บความร้อน” จากดวงอาทิตย์ ทำให้โลกของเราอบอุ่น และมีอุณหภูมิพอเหมาะกับการดำรงชีวิต แต่ถ้ามีมากเกินไป? ก๊าซเหล่านี้จะกักเก็บความร้อนมากเกินไป จนทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นถึงระดับอันตราย ก่อให้เกิด “ภาวะเรือนกระจก” (Greenhouse Effect) ที่รุนแรง และนำไปสู่ “โลกร้อน” นั่นเอง
7 ชนิดหลักของก๊าซเรือนกระจก มีทั้งจากธรรมชาติและกิจกรรมมนุษย์
               🔹คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)
               🔹ก๊าซมีเทน (CH4)
               🔹ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O)
               🔹ก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs)
               🔹ก๊าซเปอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFCs)
               🔹ก๊าซไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์ (NF3)
               🔹ก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6) (SF6)
ภาวะเรือนกระจกที่มากเกินไป ส่งผลกระทบอย่างไร?
               🌊 น้ำแข็งละลาย น้ำทะเลหนุน: น้ำแข็งขั้วโลกและธารน้ำแข็งละลายเร็วขึ้น ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชายฝั่งและชุมชน
                🔥 สภาพอากาศสุดขั้ว: ภัยธรรมชาติรุนแรงและเกิดบ่อยขึ้น เช่น พายุรุนแรง น้ำท่วม ภัยแล้ง คลื่นความร้อน และไฟป่า
                🪾 ระบบนิเวศพัง สัตว์ป่าเดือดร้อน: สิ่งมีชีวิตปรับตัวไม่ทัน สูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
               🌾 กระทบเกษตรและอาหาร: ฤดูกาลเปลี่ยน ผลผลิตลดลง เกิดความไม่มั่นคงทางอาหาร
               😷 สุขภาพแย่: อุณหภูมิสูงขึ้น มลพิษทางอากาศเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจ ลมแดด และโรคติดต่อ
               💵 เศรษฐกิจเสียหาย: ภัยพิบัติและทรัพยากรที่ลดลง ก่อความเสียหายต่อภาคเกษตร อุตสาหกรรม และพลังงาน
ร่วมกันเข้าใจและช่วยกันลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อโลกที่ดีขึ้นของพวกเราทุกคน!

“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”

แหล่งที่มา :
– กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
– NPS PLC. (2023). What is Greenhouse Gas and why it is a global issue.