เดือน: พฤษภาคม 2568
ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา จ้างสอบเทียบเครื่องมือวิทยาศาสตร์ จำนวน 11 รายการ โดยวิธีเฉพาะเจาะจง
ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา จ้างเหมาบริการรถยนต์ จำนวน 1 คัน พร้อมพนักงานขับรถยนต์ ระหว่างวันที่ 14 – 20 พฤษภาคม 2568 ณ จังหวัดระนอง จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยวิธีเฉพาะเจาะจง
ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา ซื้อวัสดุวิทยาศาสตร์ จำนวน 6 รายการ โดยวิธีเฉพาะเจาะจง
ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา จ้างเหมาบริการรถยนต์ จำนวน 1 คัน พร้อมพนักงานขับรถยนต์ ระหว่างวันที่ 19 – 21 พฤษภาคม 2568 ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดนครปฐม จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยวิธีเฉพาะเจาะจง
11 พฤษภาคม วันต้นไม้ประจำปีของชาติ
ตามที่คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2532 กำหนดให้ “วันวิสาขบูชา” เป็นวันต้นไม้ประจำปีของชาติ โดยในปีนี้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นไปที่การปลูกจิตสำนึก ประชาชน หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และเยาวชน ให้ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ และการเพิ่มพื้นที่สีเขียว และเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหา ลดผลกระทบจากวิกฤติโลกร้อน และสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน
การปลูกต้นไม้ ไม่ใช่แค่ “การลงมือปลูกต้นไม้” แต่เป็น “การปลูกจิตสำนึก” ให้กับคนทุกวัย “หนึ่งต้นไม้ หนึ่งมือปลูก หนึ่งใจรักษา” ซึ่งส่งผลดีทั้งต่อสิ่งแวดล้อม ต่อการสืบทอดคุณค่าจากรุ่นสู่รุ่น และในโอกาสวันต้นไม้ประจำปีของชาติ พ.ศ. 2568 และเป็นวันวิสาขบูชา ขอเชิญชวนประชาชนทั่วประเทศ ร่วมปลูกต้นไม้ เพื่อสร้างแผ่นดินไทยให้เขียวขจี โดยสามารถติดต่อขอรับกล้าไม้ได้ฟรี ที่สถานีเพาะชำกล้าไม้ทุกจังหวัดทั่วประเทศ หรือสอบถามเพิ่มเติมที่ สำนักส่งเสริมการปลูกป่า ส่วนผลิตกล้าไม้ กรมป่าไม้ โทร. 02-561-4292-3 ต่อ 5551
“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”
แหล่งที่มา :
– กรมป่าไม้
Dragonfly : เทคโนโลยีการเกษตรอัจฉริยะ รับมือโลกเดือดอย่างยั่งยืน
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรมทั่วโลก เกษตรกรต้องเผชิญกับภัยแล้ง น้ำท่วม และความไม่แน่นอนของฤดูกาลเพาะปลูก ขณะเดียวกัน แนวโน้มโลก ได้ก้าวสู่ยุค Smart Farm และการใช้เทคโนโลยี เช่น Internet of Things (IoT) เทคโนโลยี AI การสำรวจระยะไกล (Remote Sensing) และสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ได้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการทรัพยากรทางการเกษตร และวางแผนการเพาะปลูกอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดความเสี่ยง ควบคู่กับการเสริมสร้างความสามารถในการรับมือกับสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Dragonfly หรือ แพลตฟอร์มดิจิทัลทางการเกษตรเชิงพื้นที่ระดับรายแปลง ที่พัฒนาโดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA นับเป็นเครื่องมือสำคัญของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการเกษตรแม่นยำ โดยออกแบบมาเพื่อสนับสนุนเกษตรกรในการติดตาม เฝ้าระวัง และคาดการณ์สถานการณ์ต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเพาะปลูก ช่วยวางแผนและบริหารจัดการแปลงได้อย่างครบวงจร ตั้งแต่การปลูกจนถึงการจำหน่ายผลผลิต ด้วยเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศที่แม่นยำและทันสมัย ซึ่งมีหลายฟีเจอร์ที่น่าสนใจ อาทิ
– ติดตามความสมบูรณ์ของพืช : ใช้ดาวเทียมถ่ายภาพแปลงเกษตรกรทุก 5 วัน เพื่อวิเคราะห์สุขภาพพืชในแปลง
– ข้อมูลสภาพอากาศ : แสดงข้อมูลอุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน ความชื้นสัมพัทธ์ ข้อมูลลมและทิศทางลม จากกรมอุตุนิยมวิทยา เป็นข้อมูลรายชั่วโมงและล่วงหน้า 7 วัน
– ข้อมูลสภาพแปลง : แสดงข้อมูลสภาพดิน ความอุดมสมบูรณ์ อ้างอิงจากแผนที่ชุดดินของกรมพัฒนาที่ดิน อีกทั้งตรวจวัดคลื่นความร้อนแสดงข้อมูลอุณหภูมิพื้นผิวบริเวณแปลง เพื่อใช้วางแผนการใช้น้ำอย่างเหมาะสม
– ข้อมูลภัยพิบัติ : เป็นข้อมูลภัยพิบัติของ GISTDA เช่น ในฤดูฝน ดูพื้นที่น้ำท่วมรอบแปลง เพื่อช่วยให้เกษตรกรสามารถวางแผนรับมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ
– คาดการณ์ผลผลิต : สลัดภาพถ่ายดาวเทียม เข้าสมการแปรผล คาดการณ์ผลผลิตล่วงหน้าได้ 1-2 เดือนก่อนการเก็บเกี่ยว นำข้อมลไปต่อยอดด้านการตลาด (ปัจจุบันใช้ได้กับอ้อยและข้าว)
– แหล่งน้ำขนาดเล็ก แสดงตำแหน่งแหล่งน้ำบริเวณรอบแปลงเพาะปลูก เพื่อจัดการน้ำอย่างเหมาะสม
– เฝ้าระวังโรคและแมลง เป็นระบบแจ้งเตือนแบบจิตอาสาที่สมาชิกชุมชนสามารถปักหมุดเพื่อแจ้งเตือนเมื่อพบการระบาดของโรคหรือแมลงศัตรูพืชในพื้นที่ เฝ้าระวังและสร้างการรับรู้ร่วมกันในชุมชนที่มีความพร้อมในการใช้เทคโนโลยี
Dragonfly นับว่าเป็นเทคโนโลยีที่ยกระดับการเกษตรไทยสู่ความแม่นยำ และยังเป็นก้าวสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันให้ภาคเกษตรกรรมสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างยั่งยืน
“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”
แหล่งที่มา :
– IPCC, IPCC Sixth Assesment Report : Impacts, Adaptation and Vulnerability, Chapter 5 : Food, and Other Ecosystem Products.
– FAO : Food and Agriculture Organization of the United Nations, The State of Food and Agriculture 2023.
– FAO : Food and Agriculture Organization of the United Nations, Precision Farming : The Power of AI and Technologies.
– NECTEC : National Electronics and Computer Technology Center ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ 2563, Precision Farming เทคโนโลยีผสมผสานการเกษตรยุคดิจิทัล
– GISTDA สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ และ ภูมิสารสนเทศ, Dragonfly แมลงปอ
– GISTDA สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ และ ภูมิสารสนเทศ, มองโลกมองเรา, ปรับโฉม “Dragonfly” เวอร์ชั่น 2 นวัตกรรมจากเทคโนโลยีอวกาศฯ…ตัวช่วยเปลี่ยนผ่านเกษตรกรไทยสู่ “Smart Farmer”
– GISTDA สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ และ ภูมิสารสนเทศ, รายงานผลการดำเนินงาน การเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามภาคกิจของหน่วยงาน สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ประจำปี 2567
– GISTDA สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ และ ภูมิสารสนเทศ, กิจกรรมภายนอก, เช้านี้สุพรรณบุรี คณะผู้บริหาร GISTDA เยี่ยมชมพื้นที่นำร่องโครงการ DRAGONFLY
กรมลดโลกร้อน จัดประชุมคณะอนุกรรมการจัดทำข้อเสนอโครงการฯ กัดเซาะชายฝั่ง ครั้งที่ 3/2568
วันที่ 8 พฤษภาคม 2568 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (กรมลดโลกร้อน) จัดการประชุมคณะอนุกรรมการจัดทำข้อเสนอโครงการศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งและการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ บริเวณพื้นที่อ่าวไทยตอนบน (กรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดสมุทรสาคร) ครั้งที่ 3/2568 โดย ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ได้รับมอบหมายจากปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เป็นประธานการประชุม โดยมีนายปวิช เกศววงศ์ รองอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม และผู้อำนวยการกองขับเคลื่อนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในฐานะฝ่ายเลขานุการ พร้อมด้วยคณะอนุกรรมการที่เป็นผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเจ้าหน้าที่ จำนวน 58 คน
โดยที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาและให้ความเห็นต่อ (ร่าง) โครงการศึกษาจัดทำแผนแม่บทการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งและการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ บริเวณพื้นที่อ่าวไทยตอนบน และคณะอนุกรรมการฯ ได้เสนอแนะข้อคิดเห็นเพิ่มเติมถึงการศึกษาข้อมูล ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ควรกำหนดขอบเขตพื้นที่ศึกษาที่ครอบคลุมทั้งประเด็นการกัดเซาะชายฝั่ง การรุกล้ำของน้ำเค็ม และพื้นที่น้ำทะเลท่วมถึง การเก็บข้อมูลที่มีนัยสำคัญต่อแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ตลอดจนการเน้นย้ำถึงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และการประเมินทางเศรษฐศาสตร์ ในการนี้ กรมลดโลกร้อน ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการฯ จะรวบรวมความเห็นจากที่ประชุมและดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”
กรมลดโลกร้อน จัดกิจกรรมฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าไม้ เพิ่มพื้นที่สีเขียว เนื่องในวันวิสาขบูชาและวันต้นไม้ประจำปีของชาติ 2568
วันที่ 8 พฤษภาคม 2568 กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม โดย นายโกเมศ พุทธสอน รองอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม นำคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ กว่า 150 คน จัดกิจกรรมวันต้นไม้ประจำปีของชาติ พ.ศ. 2568 ณ ศูนย์วิจัยและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม จังหวัดปทุมธานี
การจัดกิจกรรมในวันนี้ ประกอบไปด้วยการบรรยายธรรม เรื่อง แนวปฏิบัติที่ดีตามหลักธรรมในวันวิสาขบูชา และถวายภัตตาหารเพลพระสงฆ์ จำนวน 1 รูป ณ วัดแสวงสามัคคีธรรม จ.ปทุมธานี และกิจกรรมปลูกต้นไม้โดยใช้พันธุ์ไม้ที่เหมาะกับพื้นที่ รวมทั้งพรวนดิน ใส่ปุ๋ย กำจัดวัชพืช ตัดแต่งกิ่ง รดน้ำ และการดูแลบำรุงรักษาต้นไม้เดิมที่ได้มีการปลูกไว้แล้ว เพื่อส่งเสริมการปลูกต้นไม้ ฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าไม้ เพิ่มพื้นที่สีเขียวของประเทศเพื่อดูดซับก๊าซเรือนกระจก และสร้างจิตสำนึกและความตระหนักให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการปลูกต้นไม้และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติต่อไป
“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”