เดือน: พฤษภาคม 2568
ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา จ้างซ่อมบำรุงรถยนต์ส่วนกลาง หมายเลขทะเบียน 1นค 3407 กรุงเทพมหานคร โดยวิธีเฉพาะเจาะจง
ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา จ้างซ่อมบำรุงรถยนต์ส่วนกลาง หมายเลขทะเบียน ฮฐ 8522 กรุงเทพมหานคร โดยวิธีเฉพาะเจาะจง
ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา จ้างซ่อมตู้ระบบไฟฟ้าย่อยของ Air Condition MDB Control Center เบรคเกอร์ จำนวน 6 ตัว โดยวิธีเฉพาะเจาะจง
24 พฤษภาคม วันป่าชุมชนแห่งชาติ
พื้นที่ป่าชุมชนแห่งชาติ คือพื้นที่ป่าไม้ที่ได้รับการจัดการโดยชุมชนและประชาชนในท้องถิ่น ร่วมกันกับรัฐบาลในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน เมื่อปี พ.ศ. 2564 ประเทศไทยมีป่าชุมชนกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาค จำนวนมากกว่า 12,000 แห่ง รวมเนื้อที่กว่า 6.8 ล้านไร่ มีประชาชนที่ได้รับประโยชน์จากป่าชุมชน กว่า 5 ล้าน ครัวเรือน โดยชุมชนได้ร่วมกับรัฐในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู จัดการ บำรุงรักษา ตลอดจนใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืนในรูปแบบของป่าชุมชน สอดคล้องกับวิถีชีวิต และขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น
“ป่าชุมชน” ช่วยลดโลกร้อนอย่างไร ?
🌳 ต้นไม้ดูดซับคาร์บอน – ช่วยลดก๊าซ CO₂ ที่เป็นสาเหตุหลักของโลกร้อน
💦 สร้างความชื้น ลดอุณหภูมิ – ทำให้อุณหภูมิโดยรอบป่าชุมชนเย็นลงโดยไม่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้า
💦 อนุรักษ์แหล่งน้ำ ดิน และความหลากหลายทางชีวภาพ
💵 ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน
ในวันป่าชุมชนแห่งชาตินี้ เราทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้โดย..
✔️ ปลูกต้นไม้ และอนุรักษ์ป่าชุมชนโดยรอบ
✔️ สนับสนุนสินค้าชุมชนจากทรัพยากรป่าอย่างยั่งยืน
✔️ แชร์เรื่องราวเกี่ยวกับป่าไม้ชุมชนดี ๆ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ
“ป่าชุมชนไม่ใช่แค่เรื่องของป่า แต่เป็นเรื่องของ มนุษย์กับอนาคตของโลกใบนี้”
“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”
แหล่งที่มา :
– สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 24 พฤษภาคม วันป่าชุมชนแห่งชาติ
– กรมป่าไม้, กลยุทธ์และความท้าทาย การส่งเสริมจัดตั้งและบริหารจัดการป่าชุมชน ตามพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 เพื่อรองรับเป้าหมายการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของประเทศไทย
DCCE จับมือ TEI จัดการประชุมรับฟังความเห็น พัฒนาดัชนีความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (CRI) ที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย
วันศุกร์ ที่ 23 พฤษภาคม 2568 กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม โดยกองขับเคลื่อนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ร่วมกับสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย จัดการประชุมรับฟังความเห็น (Focus group) เพื่อพัฒนาดัชนีความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย (Climate Risk Index CRI) โดยใช้กรอบแนวคิดของ Germanwatch ภายใต้โครงการพัฒนาแนวทางและศักยภาพในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ณ โรงแรม เดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ โดยมี นายปวิช เกศววงศ์ รองอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสิ่งแวดล้อม เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุม นางสาวระเบียบ ภูผา ผู้อำนวยการกองขับเคลื่อนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ กล่าวรายงาน และได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.จำลอง โพธ์บุญ ที่ปรึกษาโครงการ กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วยผู้แทน จากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม สถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกว่า 80 คน
การประชุมครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อนำเสนอกระบวนการและกรอบการพัฒนาดัชนีความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและผลวิเคราะห์ข้อมูลการจัดทำ CRI โดยใช้ข้อมูลจากจำนวนผู้เสียชีวิต ผลกระทบ และความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากภัยพิบัติ สิ่งที่สำคัญคือเรื่องของข้อมูลที่มีคุณภาพ น่าเชื่อถือ การเผยแพร่ข้อมูลผ่านช่องทางต่าง อย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งรับฟัง ความคิดเห็นเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายตามแนวทาง/กรอบการศึกษาการพัฒนาดัชนีความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย เพื่อนำไปพัฒนาดัชนีความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไป
“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”
สส.ได้รับการประเมินความเสี่ยงการทุจริตตามเกณฑ์ประเมินเชิงคุณภาพ “ระบบบริหารจัดการความเสี่ยงการทุจริต” (Corruption Risk Management System: CRMS) ในระดับดีเยี่ยม (Excellent) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
สส. เข้ารับโล่เชิดชูเกียรติเป็น “องค์กรคุณธรรมต้นแบบโดดเด่น”
ข้อมูลสาระสำคัญในสัญญา ประกวดราคาจ้างผลิตและเผยแพร่สื่อเชิงรุกสร้างความรู้ความเข้าใจเสริมพลังการมีส่วนร่วมของประชาชนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านสื่อออนไลน์ยอดนิยม ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ e-bidding
23 พฤษภาคม วันเต่าโลก World Turtle Day
“วันเต่าโลก” (World Turtle Day) ได้ถูกกำหนดขึ้นมาเมื่อ ปี พ.ศ.2543 จัดตั้งโดยองค์กรอนุรักษ์และช่วยเหลือเต่าบกและเต่าทะเล (American Tortoise Rescue) ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อปลูกจิตสำนึกและสร้างความตระหนักให้ทุกคนร่วมกันอนุรักษ์เต่า เนื่องจากเต่าเป็นสัตว์ที่มีปริมาณแนวโน้มลดลงทั่วโลก ทั้งเต่าบก เต่าน้ำจืด และเต่าทะเล โดยเต่าเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนยาว แต่ในปัจจุบันเต่าอายุสั้นลง เป็นผลจากปัจจัยต่างๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change), มลพิษ, การล่า และพื้นที่อยู่อาศัยถูกคุกคาม จึงมีการรณรงค์สร้างจิตสำนึกให้ร่วมกันอนุรักษ์เต่า และช่วยเหลือเต่าบกและเต่าทะเลที่ถูกทำร้ายให้กลับมาอยู่ในสภาพปกติ ก่อนปล่อยกลับสู่ธรรมชาติอย่างถูกต้อง และร่วมกันอนุรักษ์เต่าอย่างจริงจัง
นอกจากนี้เราทุกคน สามารถช่วยอนุรักษ์เต่าและช่วยลดโลกร้อน เพื่อบรรเทาผลกระทบที่มีต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลกได้โดย….
1. ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มาจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น ใช้รถสาธารณะ เดิน หรือขี่จักรยานแทนรถยนต์ ใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด และเลือกใช้พลังงานหมุนเวียน เป็นต้น
2. อนุรักษ์แหล่งวางไข่ของเต่า โดยหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้รังเต่าหรือเดินเล่นในบริเวณที่มีร่องรอยเต่าขึ้นวางไข่ นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเลและการพัฒนาชายหาด ทำให้แหล่งวางไข่ของเต่าลดลง
3. ลดขยะพลาสติก เนื่องจากผลวิจัยจากออสเตรเลียชี้ว่า ขยะพลาสติกในมหาสมุทรก่อความเสียหายร้ายแรงต่อความอยู่รอดของสัตว์ทะเล โดยในกรณีของเต่าทะเลนั้น การกินพลาสติกลงไป 1 ชิ้น มีความเสี่ยงจะต้องตายจากภาวะทางเดินอาหารอุดตันหรืออวัยวะภายในได้รับบาดเจ็บเพิ่มขึ้นถึง 22% ส่วนเต่าที่กินพลาสติกเข้าไป 14 ชิ้น ความเสี่ยงนี้จะพุ่งสูงขึ้นเป็น 50% และเมื่อในท้องเต่ามีพลาสติกรวมกันเกินกว่า 200 ชิ้น เต่าตัวนั้นจะต้องเสียชีวิตลงอย่างแน่นอนโดยไม่มีทางแก้ไขหรือรักษาได้
มาร่วมรณรงค์ และปรับพฤติกรรมของเราตั้งแต่วันนี้ เพื่อเต่าทั่วโลก รวมทั้งโลกใบนี้ของเรา
“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”
แหล่งที่มา :
– กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 23 พฤษภาคม “วันเต่าโลก” ชวนมาร่วมกันอนุรักษ์เต่า
– กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, วันที่ 23 พฤษภาคม ของทุกปีเป็น “วันเต่าโลก (World Turtle Day)”
– NATIONAL GEOGRAPHIC, 23 พฤษภาคม วันเต่าโลก (World Turtle Day)