แนะนำหลักสูตรใหม่ ด้วยการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning)

📌📌กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เปิดอบรม หลักสูตรใหม่ 2 หลักสุตร ผ่านระบบเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e–learning) ของศูนย์วิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ได้แก่
               🐛 1. หลักสูตร “การเลี้ยงหนอน BSFในการจัดการขยะอินทรีย์อย่างง่าย” หลักสูตรมุ่งเน้นการให้ความรู้การเลี้ยงหนอน BSF การประยุกต์ใช้หนอน BSF ในการจัดการขยะอินทรีย์ และมีตัวอย่างพื้นที่นำร่องในการจัดการขยะอินทรีย์อย่างง่าย 50 พื้นที่ซึ่งเป็นการช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาค ของเสียตั้งแต่ต้นทาง
               ⛈️ 2. หลักสูตร “การบริหารการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” หลักสูตรมุ่งเน้นการ พัฒนาบุคลากรเพื่อยกระดับความรู้ทักษะความเข้าใจและสร้าง องค์ความรู้ที่เข้มแข็งเกี่ยวกับการบริหารการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศให้เพิ่มมากขึ้น ทั้งในเรื่อง แผนระดับชาติ และการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเปิดเผยข้อมูลสภาพภูมิอากาศ การปรับตัว การเงิน มาตรการและกลไกตลาดคาร์บอนการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร รวมถึง ESG กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
📢📢***จึงขอเชิญชวนทุกท่านที่สนใจสมัครเข้าร่วมอบรมในหลักสูตรดังกล่าว ตาม Link ด้านล่างนี้: https://e-learning.dcce.go.th/lrs_deqp/coursesall

Climate Change A-Z Challenge : Emission การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทำความรู้จักก๊าซเรือนกระจกทั้ง 7 ชนิด

Emission : การปล่อยก๊าซเรือนกระจก
        ทำความรู้จักก๊าซเรือนกระจก ทั้ง 7 ชนิด ตัวการสำคัญทำให้โลกร้อน (Global Warming) ได้แก่
               1. คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) : จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล การเผาป่า และอุตสาหกรรม
               2. มีเทน (CH4) : จากการเกษตร การจัดการของเสีย และการผลิตก๊าซธรรมชาติ
               3. ไนตรัสออกไซด์ (N2O) : จากการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนในเกษตร และกระบวนการทางอุตสาหกรรม
               4. ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs) : ใช้ในเครื่องปรับอากาศและตู้เย็น
               5. เปอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFCs) : ใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และอลูมิเนียม
               6. ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6) : ใช้ในอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง
               7. ไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์ (NF3) : ใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
        ส่วนใหญ่เกิดจาก กิจกรรมของมนุษย์ เช่น การใช้พลังงาน การเกษตร และอุตสาหกรรม บางส่วนเกิดจากธรรมชาติ เช่น ภูเขาไฟระเบิด
มาจากกิจกรรมไหนสูงที่สุดในประเทศไทย? (ข้อมูลจากรายงานแห่งชาติ ฉบับที่ 4 : Fourth National Communication: NC4)
               1. พลังงาน 69.06 %
               2. เกษตร 15.69%
               3. อุตสาหกรรม 10.77%
               4. ของเสีย 4.88%
ทำไมต้องรู้?
               ก๊าซเหล่านี้กักเก็บความร้อน ทำให้โลกร้อนขึ้น ส่งผลให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติรุนแรงขึ้น น้ำแข็งละลาย ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น กระทบต่อทุกชีวิต
               ทางออก : ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก คือ กุญแจสำคัญ ในการแก้ปัญหา Climate Change และรักษาโลกของเรา

“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”

แหล่งที่มา :
– สถาบันการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (สพท.), ศูนย์องค์ความรู้ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 7 ชนิดก๊าซเรือนกระจก สาเหตุหลักของภาวะโลกร้อน.
– รายงานแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (Thailand’s Fourth National Communication : NC4)

ข้อมูลสาระสำคัญในสัญญา (ใบสั่งจ้าง กพร.5/2568) จ้างซ่อมจอคอมพิวเตอร์สำนักงานและคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค (บริษัท อีซี่ พลัส จำกัด) โดยวิธีเฉพาะเจาะจง

กรมลดโลกร้อน มอบรางวัลผู้ชนะ “SAVE THE EARTH GAME” บอร์ดเกมพิชิตโลกเดือด เตรียมขยายผลสร้างสรรค์สื่อการเรียนรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสู่รูปแบบออนไลน์

               วันที่ 20 พฤษภาคม 2568 กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (กรมลดโลกร้อน) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มอบใบประกาศนียบัตร พร้อมมอบรางวัลให้กับผู้ชนะการแข่งขันในกิจกรรม “SAVE THE EARTH GAME” บอร์ดเกมพิชิตโลกเดือด โดยมี ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานในพิธีมอบรางวัล ฯ ณ ห้องประชุมอารีย์สัมพันธ์ อาคารกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม พร้อมเปิดตัวทดลองเล่นในงานวันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิถุนายน 2568 เตรียมขยายผลสร้างสรรค์สื่อการเรียนรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
               ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ประเทศไทยได้ประกาศเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งจะยกระดับการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศอย่างเต็มที่ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ.2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ในปี ค.ศ.2065 โดยกิจกรรม “SAVE THE EARTH GAME” บอร์ดเกมพิชิตโลกเดือด ถือเป็นส่วนหนึ่งในการสื่อสาร สร้างความรู้ความเข้าใจ ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้ผู้เล่นมีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้น เกิดการเรียนรู้เชิงลึกทั้งทางความคิด ทักษะ และเจตคติ นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างการรับรู้ให้เข้าถึงกลุ่มเยาวชนได้มากขึ้น ให้ร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนไปสู่บรรลุเป้าหมายได้ตามที่ประเทศกำหนดไว้
               ดร.พิรุณ กล่าวต่อว่า กรมลดโลกร้อน ได้มีแผนการต่อยอดจากกิจกรรมครั้งนี้ โดยจะนำบอร์ดเกมพิชิตโลกเดือด ที่ได้รับรางวัลไปขยายผลสร้างการเรียนรู้กับนักเรียน นักศึกษาทั่วประเทศ รวมถึงจะมีการพัฒนาให้เป็นรูปแบบออนไลน์ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเยาวชน ประชาชนได้อย่างเป็นวงกว้างและมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้ง จะมีการนำผลงานบอร์ดเกมพิชิตโลกเดือดไปเปิดตัวในงานวันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิถุนายน 2568 เพื่อให้ผู้ที่มาร่วมงานร่วมทดลองเล่นและเรียนรู้ไปด้วยกัน ทั้งนี้ ขอขอบคุณคณะกรรมการและวิทยากร ที่ร่วมกันผลักดันและให้ข้อคิดเห็นที่มีประโยชน์ในการสร้างบอร์ดเกมพิชิตโลกเดือด และที่สำคัญขอแสดงความชื่นชมกับผู้เข้าร่วมแข่งขันทุกทีมที่ได้สร้างสรรค์ผลงานขึ้นมาในครั้งนี้ ซึ่งเป็นสิ่งยืนยันที่จะแสดงให้เห็นว่า บุคลากรของประเทศไทยมีศักยภาพ และมีพลังในการก้าวข้ามความท้าทายต่าง ๆ ต่อไปในอนาคต
               สำหรับผลงานที่ได้รับรางวัลจากการประกวด “บอร์ดเกมพิชิตโลกเดือด” ในครั้งนี้ เป็นผลงานจากผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 25 ทีม โดยผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เกม “Planet SoS” จากทีม บลัฟกับบอส เกมที่จําลองสถานการณ์บทบาทเจ้าของธุรกิจเลือกพัฒนาเทคโนโลยีและเป็นนักปลูกป่าเพื่อช่วยลดก๊าซ CO2 ในโลก รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ เกม “The Carbon Pawprints สรรพสัตว์สกัดโลกเดือด” จากทีม Crabear หมีกะปู เกมที่จำลองบทบาทตัวละครสัตว์น่ารักที่เสียบ้านเพราะโลกเดือด เดินทางสร้างเมืองทำภารกิจพิชิตโลกเดือด และรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ เกม “Zero To Eco” เป็นศูนย์เพื่อสิ่งแวดล้อม จากทีม Tp Team เกมที่จำลองสถานการณ์ หากโลกเรามีเวลาจำกัด อะไรคือตัวชี้วัดว่าเราสามารถทำให้คนหนึ่งคนเป็นนักอนุรักษ์ ดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังมีรางวัลชมเชย 3 รางวัล ได้แก่ เกม “santiearth netzero” จากทีม สันติ เกม “Heat Busters” จากทีม LazzyBread และเกม “CarbonCaisis” จากทีม ขนมลิงกล้วยๆใส่ถ้วยที่มีลิง ซึ่งทั้ง 6 ทีมจะได้รับรางวัลพร้อมโล่รางวัล รวมมูลค่ากว่า 100,000 บาท

“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”

ประเทศไทยมี “แผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ” (Thailand’s National Adaptation Plan: NAP) อย่างเป็นทางการแล้ว!

        แผน NAP เป็นกรอบแนวทางสำคัญในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ประเทศ พร้อมรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ครอบคลุม 6 ด้านสำคัญ ได้แก่
        💧 การจัดการทรัพยากรน้ำ
        🌾 เกษตรและความมั่นคงทางอาหาร
        🏖️ การท่องเที่ยว
        🏥 สาธารณสุข
        🌿 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
        🏘️ การตั้งถิ่นฐานและความมั่นคงของมนุษย์
📥 ดาวน์โหลดแผนฉบับเต็มได้ที่ >>> Thailand’s National Adaptation Plan : NAP

กรมลดโลกร้อน จัดประชุมคณะอนุกรรมการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้านการบูรณาการนโยบายและแผน ครั้งที่ 2/2568

 

               ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2568 กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (กรมลดโลกร้อน) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดประชุมคณะอนุกรรมการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้านการบูรณาการนโยบายและแผนครั้งที่ 2/2568 โดย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประธานอนุกรรมการมอบหมายให้ นางอรนุช หล่อเพ็ญศรี รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติหน้าที่แทน และมี ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เป็นรองประธานอนุกรรมการคนที่ 1 นายปวิช เกศววงศ์ รองอธิบดีกรมฯ ทำหน้าที่อนุกรรมการและเลขานุการ ณ ห้องประชุมอารีย์สัมพันธ์ ชั้น 3 อาคารกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
               คณะอนุกรรมการฯ รับทราบ คำสั่งคณะอนุกรรมการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้านการบูรณาการนโยบายและแผน ที่ 1/2568 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาและกลั่นกรองโครงการที่ขอรับการสนับสนุนทางการเงินในกรอบระหว่างประเทศและคำสั่งอนุกรรมการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้านการบูรณาการนโยบายและแผน ที่ 2/2568 เรื่องการแต่งตั้งคณะทำงานบูรณาการนโยบายและแผนการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ รวมถึงแนวทางการออกหนังสือรับรองว่าประเทศไทยไม่มีข้อคัดค้านต่อข้อเสนอโครงการในรูปแบบ Project Preparation Facility (PPF) เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการจัดทำข้อเสนอโครงการฉบับสมบูรณ์ (Full Funding Proposal : FP) รวมทั้งเห็นชอบพิจารณาออกหนังสือรับรองว่าประเทศไทยไม่มีข้อคัดค้านต่อข้อเสนอโครงการ (No – Objection Letter : NOL) จำนวน 2 โครงการประกอบด้วยโครงการ Mandala Capital SSEA Food Fund LP (MCSSEAFF) และโครงการ Climate and Health Co – investment Facility Programme โดยมอบหมายให้กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมนำเสนอต่อปลัดกระทรวงฯ เพื่อพิจารณาลงนามและนำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อทราบ ในลำดับต่อไป

“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”

ข้อมูลสาระสำคัญในสัญญา ประกวดราคาจ้างจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ e-bidding

Climate Change A-Z Challenge : Decarbonization การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 1 ในก๊าซเรือนกระจก

Decarbonization: การลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 1 ในก๊าซเรือนกระจก ทุกคนทำได้! เปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวันแบบง่ายๆ โลกใบนี้ดีขึ้น
               1. กินอย่างยั้งคิด: ซื้อ/ปรุง/สั่งพอดี ลดขยะอาหาร
               2. ลด แลก เปลี่ยน ใช้ซ้ำ: พกถุงผ้า กล่องข้าว แก้วน้ำ เลี่ยงใช้ครั้งเดียวทิ้ง แยกขยะ งดโฟม
               3. ประหยัดพลังงาน: ปิดไฟ ถอดปลั๊ก ใช้แสงธรรมชาติ พัดลมแทนแอร์ เลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าเบอร์ 5/LED
               4. เดินทางใส่ใจโลก: วางแผนการเดินทาง ใช้รถสาธารณะ ปั่นจักรยาน/เดินระยะใกล้ ๆ
               5. เลือกสินค้าสีเขียว: เลือกผลิตภัณฑ์ที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
อยากให้ทุกคนลงมือทำ เริ่มได้ง่ายๆ ที่ตัวเรา

“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”

แหล่งที่มา :
– องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). (2559). ฉลาดเลือก ฉลาดใช้ ใส่ใจโลกร้อนด้วย ฉลากคาร์บอน. (พิมพ์ครั้งที่ 1)

ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา จ้างผลิตตัวอย่างมาตรฐานและค่ากำหนดของรายการทดสอบความเป็นกรด-ด่าง (pH-value) ในน้ำผิวดิน จำนวน 1 รายการ โดยเฉพาะเจาะจง