กรมลดโลกร้อน ร่วมประชุมคณะทำงานอาเซียนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 16 (16th AWGCC Meeting) ยกระดับความร่วมมือ และแสดงเจตนารมณ์ของอาเซียน แก้ไขปัญหาโลกเดือด

               เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2568 ที่ผ่านมา นายปวิช เกศววงศ์ รองอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม หัวหน้าคณะผู้แทนไทยพร้อมด้วยผู้แทนจากกรมลดโลกร้อน กตป. และ อบก. เข้าร่วมการประชุม 16th AWGCC Meeting ณ เมืองวังเวียง แขวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภูมิอาเซียน โดยมีผู้แทนจากสมาชิกอาเซียน ประเทศคู่เจรจา และองค์กรระหว่างประเทศ เข้าร่วมกว่า 100 คน
               รองอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ได้นำเสนอข้อริเริ่มโครงการ High-Intrigrity ASEAN Carbon Initiative (HACI) ซึ่งจะช่วยยกระดับมาตรฐานคาร์บอนเครดิตของอาเซียนให้เป็นที่ยอมรับ ผ่านการพัฒนา Premium T-VER ของไทย โดยสมาชิกอาเซียนพร้อมให้การสนับสนุนและจะรับรองในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมต่อไป

“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”

ปรับวิธีคิด เปลี่ยนวิถีชีวิต พลิกวิกฤตโลกร้อน RETHINK REINVENT REVERSE THE CLIMATE CRISIS

               โลกร้อนขึ้นทุกวัน แต่เราช่วยกันเปลี่ยนได้! รู้ทันวิกฤตโลกร้อน พร้อมแนวทางง่าย ๆ ที่ทุกคนทำได้ในชีวิตประจำวัน จาก eBook “ปรับวิธีคิด เปลี่ยนวิถีชีวิต พลิกวิกฤตโลกร้อน” เล่ม 3 โดย กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
อ่านได้ที่ : https://online.fliphtml5.com/jrbcl/syil/#p=1

“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”

กรมลดโลกร้อน ชวนประชาชน (กู้) ภัยโลกร้อนลดก๊าซเรือนกระจก COMBAT GLOBAL WARMING CUT GREENHOUSE GAS EMISSIONS

               โลกร้อนขึ้นทุกวัน แต่เราช่วยกันเปลี่ยนได้! รู้ทันวิกฤตโลกร้อน พร้อมแนวทางง่าย ๆ ที่ทุกคนทำได้ในชีวิตประจำวัน จาก eBook “(กู้) ภัยโลกร้อนลดก๊าซเรือนกระจก” เล่ม 2 โดย กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
อ่านได้ที่ : https://online.fliphtml5.com/jrbcl/qlah/#p=1

“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”

กรมลดโลกร้อน เสริมพลังเครือข่าย ทสม. จัดทำแผนปฏิบัติการเครือข่าย ทสม. เชิงพื้นที่ ระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2569 – 2573) ครั้งที่ 2 กลุ่มจังหวัดภาคใต้

               กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม โดยกองส่งเสริมการมีส่วนร่วมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม จัดประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานและบูรณาการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมของเครือข่าย ทสม.ครั้งที่ 2 กลุ่มจังหวัดภาคใต้ ระหว่างวันที่ 14 – 15 พฤษภาคม 2568 ณ โรงแรมคริสตัล หาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยมี นายโกเมศ พุทธสอน รองอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมฯ พร้อมด้วยนางสาวอุมา ศรีสุข ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการมีส่วนร่วมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กล่าวรายงาน วัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการเครือข่าย ทสม.ระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ.2569 – 2573) รวมทั้งแผนสนับสนุนด้านการเงิน แหล่งทุนสนับสนุนการดำเนินงานของเครือข่าย ทสม. และเป็นการเสริมสร้างกลไกการขับเคลื่อนเครือข่าย ทสม. ในการดำเนินกิจกรรมเชิงพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกันทั้งในระดับพื้นที่และระดับประเทศ โดยแบ่งเป็นกลุ่มโซนจังหวัด 6 กลุ่ม (กลุ่มจังหวัดภาคอีสานเหนือและกลุ่มจังหวัดภาคอีสานใต้ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือ กลุ่มจังหวัดลุ่มน้ำภาคกลางและภาคตะวันออก) ที่สำคัญเป็นการเสริมสร้างองค์ความรู้และเสริมศักยภาพผู้นำเครือข่าย ทสม. ในการขับเคลื่อนงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”

 

ขอเชิญอบรมออนไลน์ หลักสูตร “การจัดการความเสี่ยงและความพร้อมต่อภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ”

เมื่อภัยพิบัติไม่ใช่เรื่องไกลตัว… มาเตรียมพร้อมรับมือกับ Climate Change อย่างมืออาชีพ! 🌍
📣 ขอเชิญอบรมออนไลน์ ฟรี!
หลักสูตร “การจัดการความเสี่ยงและความพร้อมต่อภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ”
โดย กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
ร่วมกับ คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล

🗓 วันที่ 12–13 มิ.ย. 2568 | 🕘 เวลา 09.00–16.00 น. | 💻 ผ่าน Zoom
✅ เรียนรู้การประเมินความเสี่ยง วางแผนรับมือ ใช้ระบบ GIS เฝ้าระวังภัยพิบัติ
🎓 รับใบประกาศนียบัตรจากกรมฯ
💸 ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย!

📌 สมัครด่วน: https://forms.gle/D8MfonnAB87MqWn37
📞 ติดต่อ: อ.ดร.จุฑารัตน์ แก้วบุญชู โทร. 082-261-5198

กรมลดโลกร้อน มอบประกาศนียบัตรแต่งตั้ง Climate Change Ambassador 2025

               วันที่ 14 พฤษภาคม 2568 กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ และบริษัท ทีพีเอ็น โกลบอล จำกัด ผู้จัดการประกวดนางสาวไทย ประจำปี 2568 จัดพิธีมอบประกาศนียบัตร Climate Change Ambassador 2025 โดย ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ให้เกียรติเป็นผู้มอบประกาศนียบัตรดังกล่าว ให้แก่ผู้เข้าประกวดนางสาวไทย ประจำปี 2568 ทั้ง 45 คน ซึ่งมีคุณอทิติยา เบญจปักษ์ รองอันดับ 2 นางสาวไทย ปี 2567 และผู้จัดการกองประกวดนางสาวไทย 2568 เป็นผู้แทนรับมอบ งานวันนี้ได้รับเกียรติจากนายเกียรติคุณ ชาติประเสริฐ ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย พลเรือเอก ปกครอง มนธาตุผลิน นายกสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ คุณปิยาภรณ์ แสนโกศิก ประธานบริหาร บริษัท ทีพีเอ็น โกลบอล จำกัด และแขกผู้มีเกียรติที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าร่วม ณ หอประชุมนวมินทร์ วชิราวุธวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
              ในปีนี้ กรมลดโลกร้อน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมวางแนวทางกับกองประกวดนางสาวไทย แต่งตั้งให้นางสาวไทย ใน 45 จังหวัด ดำรงตำแหน่ง Climate Change Ambassador เพื่อทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงสำคัญในการสื่อสารและสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาประเทศไทยอย่างยั่งยืนบนแนวทางของเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ และการมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกคน โดยจะมีการคัดเลือก Climate Change Ambassador จำนวน 5 คน เพื่อเป็น Miss Climate Change 2025 ซึ่งจะประกาศผลในการประกวดนางสาวไทย 2568 รอบตัดสิน ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2568 ณ เอ็มซีซี ฮอลล์ เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ งามวงศ์วาน และถ่ายทอดทั้งระบบดิจิตอล แพลตฟอร์มของทางกองประกวด

“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”