ข้อมูลสาระสำคัญในสัญญา (ใบสั่งจ้าง สลก.50/2568) จ้างตรวจเช็คและซ่อมบำรุงรถยนต์ส่วนกลาง จำนวน 4 คัน (บริษัท ดีดี คาร์เซอร์วิส จำกัด) โดยวิธีเฉพาะเจาะจง

กรมลดโลกร้อน ร่วมงานมหกรรมทรัพยากรชีวภาพและการสร้างโอกาสทางการตลาด “WONDERS OF BIODIVERSITY – มหัศจรรย์ทรัพยากรชีวภาพ”

               วันที่ 10 มิถุนายน 2568 ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดงานมหกรรมทรัพยากรชีวภาพและการสร้างโอกาสทางการตลาด ภายใต้แนวคิด “WONDERS OF BIODIVERSITY – มหัศจรรย์ทรัพยากรชีวภาพ” ซึ่งจัดขึ้นโดย สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ BEDO ระหว่างวันที่ 9 – 13 มิถุนายน 2568 ณ ลานอเนกประสงค์ ชั้น 2 อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ เพื่อสร้างการรับรู้และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายและชุมชนในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน โดยมี ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยนายปวิช เกศววงศ์ รองอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เข้าร่วม
               การจัดงานมหกรรมทรัพยากรชีวภาพและการสร้างโอกาสทางการตลาด มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการรับรู้ให้สังคมได้ตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากร พร้อมร่วมกันอนุรักษ์และฟื้นฟูฐานทรัพยากรให้คงอยู่ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) ให้เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยมุ่งเน้นการเชื่อมโยงระหว่างความหลากหลายทางชีวภาพกับเศรษฐกิจ ผ่านการส่งเสริมชุมชนในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างรู้คุณค่า ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์และการพัฒนาตามแนวทาง BCG Economy Model (Bio – Circular –Green) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) การจัดงานในครั้งนี้มีกิจกรรม ประกอบด้วย การจัดแสดงนิทรรศการเผยแพร่ผลงานของ BEDO การจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชีวภาพจากชุมชนเครือข่ายของ BEDO กว่า 60 ชุมชนทั่วประเทศ การมอบรางวัล “BEDO Award on Biodiversity & Sustainability” เพื่อเชิดชูเกียรติให้กับพันธมิตรทั้งภาครัฐ และเอกชน บุคคล ที่มีการสนับสนุนและร่วมดำเนินงานกับ BEDO ด้านการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ รวมถึงมีการมอบโล่สำหรับผู้ประกอบการที่ได้รับเครื่องหมายผลิตภัณฑ์และบริการจากความหลากหลายทางชีวภาพ (B Mark)
               นอกจากนี้ยังได้จัดการประชุมวิชาการด้านความหลากหลายทางชีวภาพกับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน “Biodiversity & Bioeconomy Forum 2025 : ธรรมชาติเพื่อชีวิต เศรษฐกิจเพื่อการอนุรักษ์” ระหว่างวันที่ 10 – 12 มิถุนายน 2568 ณ โรงแรมเซ็นทารา ไลฟ์ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ การจัดงาน “มหกรรมทรัพยากรชีวภาพและการสร้างโอกาสทางการตลาด” ในครั้งนี้ เป็นเวทีสำคัญที่ช่วยสร้างการรับรู้ ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน ในการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพอย่างมีส่วนร่วม และเปิดประตูสู่โอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ภายใต้หลักการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืนขอเชิญชวนทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการ ผู้ประกอบการตลอดจนประชาชนทั่วไป เข้าร่วมงานเพื่อเรียนรู้ แบ่งปัน และสร้างเครือข่ายแห่งความร่วมมือในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพของประเทศไทยไปด้วยกัน

“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”

ประกาศกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เรื่อง การขึ้นทะเบียนผู้ตรวจประเมิน G – Green กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

ประกาศการขึ้นทะเบียนผู้ตรวจประเมิน G - Green

ประกาศกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เรื่อง การขึ้นทะเบียนหน่วยงานรับดำเนินงานตรวจประเมินรับรอง G – Green กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

ประกาศกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เรื่อง การขึ้นทะเบียนหน่วยงานรับดำเนินงานตรวจประเมินรับรอง G – Green กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมประกาศ การขึ้นทะเบียนการขึ้นทะเบียนหน่วยงานรับดำเนินงานตรวจประเมินรับรอง G - Green กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

หลักสูตรอบรม : ระบบเฝ้าระวังและเตือนภัยโรคระบาด ที่เชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

🎓 เปิดรับสมัครแล้ว! หลักสูตรอบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
“ระบบเฝ้าระวังและเตือนภัยโรคระบาดที่เชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ”
จัดโดย กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมร่วมกับ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

🗓 วันที่ 1–2 กรกฎาคม 2568 เวลา 08.30 – 17.30 น.
📍 ณ ห้องประชุม อาคารเทพนม เมืองแมน (อาคาร 5) ชั้น 4
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล (วิทยาเขตพญาไท)

🧠 หัวข้อเด่นในหลักสูตร
ความเข้าใจพื้นฐานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยต่อสุขภาพ
โรคระบาดที่มากับสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง
การประเมินความเสี่ยงและระบบเฝ้าระวัง
การจัดการข้อมูลและเตือนภัยโรคระบาด
การสื่อสารความเสี่ยงและการวางแผนนโยบาย

✅ รับประกาศนียบัตรรับรองจากกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
🎓 รับ Micro Credit 1 หน่วยกิต จากมหาวิทยาลัยมหิดล

จำกัดผู้เข้าร่วมเพียง 50 ท่าน และ จะมีการคัดเลือกจากผู้สมัคร
โดยพิจารณาจากความเกี่ยวข้องของประสบการณ์ทำงานหรือความสนใจในหัวข้อหลักสูตร
✅ สมัครได้ถึงวันที่ 21 มิถุนายน 2568
📣 ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกวันที่ 23 มิถุนายน 2568

ระเบิดฝน เกี่ยวข้องกับเราในยุคโลกร้อนอย่างไร?

ทุกคนเคยได้ยินคำว่า “ระเบิดฝน (Rain Bomb)” กันไหมครับ แม้คำนี้จะไม่ใช่ศัพท์ทางอุตุนิยมวิทยาอย่างเป็นทางการ แต่มันถูกใช้เพื่ออธิบายถึงฝนที่ตกลงมาอย่างหนักและรวดเร็วในบริเวณพื้นที่แคบๆ คล้ายกับการทิ้งระเบิดจากฟากฟ้า ในทางวิทยาศาสตร์ ปรากฏการณ์นี้ใกล้เคียงกับปรากฏการณ์ที่กระแสลมพุ่งลงอย่างแรงจากพายุฝนฟ้าคะนองที่เรียกว่า “wet microburst” ทำให้เกิดฝนตกหนักและลมกระโชกแรงในบริเวณเล็กๆ และในเวลาอันซึ่งเมื่อกระทบพื้นแล้วจะแผ่ขยายออกไปในทุกทิศทาง ทำให้เกิดลมแรงถึงแม้ว่า “ระเบิดฝน” จะเกิดขึ้นเพียงแค่ 5-10 นาที เท่านั้น แต่กลับสามารถสร้างความเสียหายได้มาก ทั้งจากปริมาณน้ำฝนที่สูงถึง 2 – 4 นิ้วต่อชั่วโมง และลมกระโชกแรงในแนวราบที่อาจมีความเร็วถึง 100 – 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในขณะเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น อากาศที่อุ่นขึ้นสามารถกักเก็บไอน้ำได้มากขึ้นประมาณ 7% ต่อองศาเซลเซียสที่เพิ่มขึ้น เมื่อมีไอน้ำในชั้นบรรยากาศมากขึ้น ก็มีโอกาสที่จะเกิดฝนตกหนักและรุนแรงขึ้น ซึ่งอาจพัฒนากลายเป็น “ระเบิดฝน” ได้ในที่สุด
               สำหรับประเทศไทยของเราก็มีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับเหตุการณ์ฝนตกหนักที่รุนแรงขึ้นนี้เช่นกัน ซึ่งแม้คำว่า “ระเบิดฝน” จะไม่ถูกใช้บ่อยนักในอดีต แต่ประเทศไทยก็เคยเผชิญกับเหตุการณ์ฝนตกหนักที่อาจมีลักษณะคล้ายคลึงกัน เช่น น้ำท่วมใหญ่ในกรุงเทพฯ ปี 2529, 2537 และ 2554 รวมถึงฝนตกหนักในภาคใต้ปี 2560 และล่าสุดในปี 2567 ที่มีการกล่าวถึง “rain bomb” ในกรุงเทพฯ ดังนั้น แนวโน้มในอนาคตชี้ให้เห็นว่า ประเทศไทยจะมีความเสี่ยงต่อเหตุการณ์ฝนตกหนักที่รุนแรงมากขึ้น ซึ่งอาจรวมถึง “ระเบิดฝน” ด้วย อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น และการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดเหตุการณ์เหล่านี้บ่อยและรุนแรงขึ้น ที่สำคัญประเทศไทยของเรามีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบและมีความเปราะบางต่อ “ระเบิดฝน” เนื่องจากระเบิดฝนสามารถสร้างผลกระทบและความเสียหายอย่างมากต่อโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศ เช่น ถนน สะพาน และระบบระบายน้ำ นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน ดินถล่ม และก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจตามมา ซึ่งประเทศไทยมีความเปราะบางต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติเหล่านี้ เนื่องจากตั้งอยู่ในภูมิภาคที่มีความเสี่ยงต่อสภาพอากาศสุดขั้ว
               พวกเราในฐานะประชาชนสามารถปรับตัวเพื่อรับมือกับ “ระเบิดฝน” ได้ง่ายๆ โดยการติดตามข่าวสารและประกาศเตือนภัยจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด และหากพักอาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยง ควรเตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วมฉับพลัน นอกจากนี้ สามารถช่วยกันดูแลรักษาและพัฒนาระบบระบายน้ำในชุมชน และสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อบรรเทาปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระยะยาว ซึ่งเป็นปัจจัยที่ช่วยกระตุ้นให้เกิด “ระเบิดฝน”
               การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะไม่ใช่เรื่องไกลตัวเราอีกต่อไป และมันส่งผลต่อปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอย่าง “ระเบิดฝน” การทำความเข้าใจและเตรียมพร้อมในการปรับตัวเพื่อรับมือกับความเสี่ยงเหล่านี้ จะช่วยลดความเสียหายและผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของเราได้

“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”

แหล่งที่มา :
– GZA Known for excellence : Built on trust., Sheltering from the strom : “Rain Bombs” and Developing Mitigation Approaches.
– LIVESCIENCE. Facts About Microbursts.
– Getaway. ‘Rain bombs’ captured in all their beauty.
– CLIMATE COUNCIL., A Super Charged Climate : Rain Bombs, Flash Flooding and Destruction.
– National Weather Service : National Oceanic and Atmospheric Administration., What is Microburst?
– IPCC Sixth Assessment Report. Working Group 1 : The Physical Science Basis., Chapter 11 : Weather and Climate Extreme Events in a Changing Climate.

ข้อมูลสาระสำคัญในสัญญา (ใบสั่งซื้อ สลก.18/2568) ซื้อวัสดุสำนักงาน (กระดาษ A4 เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม) จำนวน 2,455 รีม (บริษัท พีทวินพล้ส จำกัด) โดยวิธีเฉพาะเจาะจง