Climate Change A-Z Challenge : Climate Change

               Climate Change หรือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คือ การที่อากาศในพื้นที่นั้นๆ เปลี่ยนไปจากเดิม ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิที่ร้อนขึ้น ฝนตกไม่ตรงฤดู ลมแรงผิดปกติ
สาเหตุหลักมาจากอะไร?
               กิจกรรมของมนุษย์ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม ตัดไม้ทำลายป่า ทำเกษตรกรรม และการใช้ชีวิตประจำวันของเราปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเกินไป จนก๊าซเหล่านี้กักเก็บความร้อน ทำให้เกิด “ภาวะโลกร้อน”
แล้วส่งผลกระทบอย่างไร?
               – น้ำแข็งขั้วโลกละลาย: น้ำทะเลสูงขึ้น ท่วมพื้นที่ชายฝั่ง
               – อากาศสุดขั้ว: น้ำท่วมหนัก แห้งแล้งรุนแรง คลื่นความร้อนจัด มาบ่อยและแรงขึ้น
               – กระทบทุกชีวิต: สัตว์อยู่ไม่ได้ คนเดือดร้อนแน่นอน
แต่เราช่วยได้! แค่ปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ก็ช่วยลดก๊าซเรือนกระจก และชะลอ Climate Change ได้

“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”

แหล่งที่มา :
– กรมอุตุนิยมวิทยา
– Green Network : Magazine to save the world

กรมลดโลกร้อน จัดประชุมแลกเปลี่ยนไทย-เยอรมัน ด้านการศึกษา พัฒนาดัชนีความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (CRI)

               วันพุธที่ 7 พฤษภาคม 2568 กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย จัดการประชุมแลกเปลี่ยนไทย-เยอรมัน ด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาดัชนีความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ณ ห้องประชุม 301 ชั้น 3 กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม โดยมี ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุม พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเจ้าหน้าที่กองขับเคลื่อนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เข้าร่วมประชุมและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น
               การประชุมครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมความรู้และการแลกเปลี่ยนทางเทคนิคเพื่อพัฒนาดัชนีความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (Climate Risk Index: CRI) ที่เหมาะสมกับประเทศไทยต่อไป ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญในการการพัฒนาแนวทางและศักยภาพในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะเป็นเครื่องมือสำคัญให้กับทุกภาคส่วน ได้มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงการตั้งรับในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภายใต้แผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ (Nationnal Adaptation Plan: NAP) รวมถึงมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยังยืน ซึ่งจะนำไปสู่ความสามารถในการปรับตัวของทุกภาคส่วน และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอากาศต่อไป

“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”

Climate Change A-Z Challenge : Biodiversity สำคัญต่อโลกเรายังไง? เกี่ยวอะไรกับโลกเดือด?

“Biodiversity สำคัญต่อโลกเรายังไง? เกี่ยวอะไรกับโลกเดือด?”
               “Biodiversity” หรือ ความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งพืช สัตว์ จุลินทรีย์ และระบบนิเวศรอบตัวเรา สำคัญมากๆ ต่อโลกใบนี้ เพราะทุกชีวิตเชื่อมโยงกันเป็นห่วงโซ่

แล้ว “โลกเดือด” มาเกี่ยวอะไร?
ภาวะ “โลกเดือด” จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลัง “แผดเผา” และ “คุกคาม” เพื่อนร่วมโลกของเราอย่างหนัก!
               • สัตว์-พืช เสี่ยงสูญพันธุ์: อุณหภูมิที่สูงขึ้นทำให้อยู่ยาก บางชนิดอาจสูญพันธุ์ เช่น ปะการังฟอกขาว หมีขั้วโลกไม่มีน้ำแข็งให้อยู่
               • ระบบนิเวศปั่นป่วน: ฤดูกาลเปลี่ยนเร็ว วงจรชีวิตสัตว์พืชรวน กระทบสมดุลธรรมชาติ
               • สายพันธุ์ต่างถิ่นรุกราน: อากาศที่ร้อนระอุ เอื้อให้สัตว์บางชนิดรุกรานถิ่นอื่นหรือแย่งที่อยู่
               • อาหาร-น้ำ วิกฤต: พืชอาหารลด สัตว์ป่าเดือดร้อน คนก็กระทบด้วย
สรุปง่ายๆ : โลกเดือด = ความเสี่ยงต่อการสูญเสีย “Biodiversity” ซึ่งเป็น “พื้นฐานชีวิต” ของเราทุกคน!

ดับ “โลกเดือด” ร่วมกัน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อรักษาบ้านของเราและเพื่อนร่วมโลก!

“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”

แหล่งที่มา :
– ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน, SDG MOVE : MOVING TOWARDS SUSTAINABLE FUTURE, COP 27 ย้ำการปกป้อง ‘ความหลากหลายทางชีวภาพ’ เชื่อมโยงกับ ‘การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ’ เป็นเรื่องที่ไม่อาจแยกออกจากกัน

กรมลดโลกร้อน จัดประชุมคณะทำงานพิจารณาและกลั่นกรองโครงการที่ขอรับการสนับสนุนทางการเงินในกรอบระหว่างประเทศ ครั้งที่ 1/2568

              เมื่อวันอังคารที่ 6 พฤษภาคม 2568 ที่ผ่านมา ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (กรมลดโลกร้อน) เป็นประธานการประชุมคณะทำงานพิจารณาและกลั่นกรองโครงการที่ขอรับการสนับสนุนทางการเงินในกรอบระหว่างประเทศ ครั้งที่ 1/2568 ณ ห้องประชุมอารีย์สัมพันธ์ ชั้น 3 อาคารกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม โดยมีนายกิตติศักดิ์ พฤกษ์กานนท์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และความร่วมมือระหว่างประเทศ ปฏิบัติหน้าที่คณะทำงานและเลขานุการ ร่วมกับคณะทำงานและเจ้าหน้าที่ จำนวน 40 คน ที่ประชุมได้รับทราบ 1) คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาและกลั่นกรองโครงการที่ขอรับการสนับสนุนทางการเงินในกรอบระหว่างประเทศ 2) ข้อเสนอแนะจากสำนักเลขาธิการกองทุนภูมิอากาศสีเขียว ภายหลังการจัดส่งกรอบการพิจารณาขอรับการสนับสนุนทางการเงินระหว่างประเทศ ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย ฉบับที่ 2 และ 3) การอนุมัติข้อเสนอโครงการ Enhancing Thailand’s Capacity for Climate Adaptation through Risk-informed Anticipatory Actions on Flood and Drought
              นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบ 1) แนวทางการออกหนังสือรับรองว่าประเทศไทยไม่มีข้อคัดค้านต่อข้อเสนอโครงการในรูปแบบ Project Preparation Facility (PPF) เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการจัดทำข้อเสนอโครงการฉบับสมบูรณ์ และ 2) การออกหนังสือรับรองว่าประเทศไทยไม่มีข้อคัดค้านต่อข้อเสนอโครงการ (No – Objection Letter : NOL) สำหรับ 3 โครงการ คือ (1) Mandala Capital SSEA Food Fund LP (MCSSEAFF) (2) Climate and Health Co – investment Facility Programme และ (3) Navis Decarbonization Fund I (PPF) โดยมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ เสนอขอความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้านการบูรณาการนโยบายและแผนตามขั้นตอนต่อไป

“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”

ประกาศผู้ชนะการเสนอราคาประกวดราคาซื้อรถตู้โดยสารพลังงานไฟฟ้า ขนาดไม่น้อยกว่า 12 ที่นั่ง (1 คัน) ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์

Climate Change A-Z Challenge : Adaptation หรือ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

        Adaptation หรือ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ : หมายถึง การปรับเปลี่ยนในระบบนิเวศ สังคม หรือเศรษฐกิจ เพื่อตอบสนองต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจริงหรือคาดการณ์ไว้จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
               – ปรับตัวต่อภัยพิบัติ/สภาพอากาศแปรปรวน
               – ปรับรูปแบบวิถีชีวิตเพื่อรับมือกับภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

“ในวันที่โลกร้อนขึ้น Adaptation จึงกลายเป็นกลยุทธ์สำคัญที่เราทุกคนต้องลงมือทำ”

โลกกำลังเปลี่ยน แล้วเราปรับตัวกันยังไง?
               1. ปรับวิธีการเพาะปลูกให้เหมาะกับสภาพอากาศ
               2. สร้างบ่อกักเก็บน้ำขนาดเล็กไว้ใช้ในช่วงที่น้ำขาดแคลน
               3. ปลูกต้นไม้เพื่อสร้างร่มเงา ช่วยลดความร้อนในบริเวณบ้าน
               4. ประหยัดน้ำในทุกวันง่ายๆ แค่ปิดก๊อกน้ำเวลาแปรงฟัน และนำน้ำฝนที่รองไว้มาใช้รดต้นไม้
               5. ปิดไฟและถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อไม่ใช้งาน เพื่อลดการใช้พลังงานที่ไม่จำเป็น
               6. พกกระติกน้ำแทนการใช้ขวดพลาสติก เพื่อช่วยลดขยะพลาสติก
               7. เลือกเดิน ขี่จักรยาน หรือใช้ขนส่งสาธารณะ เพื่อช่วยลดการใช้พลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม
               8. หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมในช่วงเวลาที่มีอากาศร้อนจัด เพื่อลดความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ
        เพียงแค่เราทุกคนเปิดใจเรียนรู้และเข้าใจ พร้อมปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ไม่ว่าภาวะโลกร้อนจะรุนแรงเพียงใด เราก็สามารถรับมือได้อย่างมีสติ และอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างสมดุล เพื่อเรา และเพื่ออนาคตของโลกใบนี้

“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าสอบแข่งขันเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง (สัมภาษณ์) กำหนดวัน เวลา สถานที่สอบ และระเบียบเกี่ยวกับการสอบ

ประกาศคณะกรรมการดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในสังกัดกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

เรื่อง  รายชื่อผู้มีสิทธิเข้าสอบแข่งขันเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง (สัมภาษณ์) กำหนดวัน เวลา สถานที่สอบ และระเบียบเกี่ยวกับการสอบ ในการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ ในตำแหน่งนักวิชาการสิ่งแวดล้อมปฏิบัติการ (วุฒิปริญญาตรี) ตำแหน่งนักวิชาการสิ่งแวดล้อมปฏิบัติการ (วุฒิปริญญาโท) ตำแหน่งนักวิชาการเผยแพร่ปฏิบัติการ ตำแหน่งนักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ ตำแหน่งนิติกรปฏิบัติการ และตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

ณ อาคารกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ชั้น 3