แรงงานกับโลกร้อน : ความท้าทายใหม่ในวันแรงงาน

               วันแรงงาน (Labour Day) ตรงกับวันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันที่ยกย่องและเรียกร้องสิทธิของผู้ใช้แรงงานทั่วโลก “แรงงาน” กับ “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” เป็นเรื่องที่มีความเชื่อมโยงกันอย่างชัดเจนมากขึ้น โดยองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ระบุว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความปลอดภัยและสุขภาพของแรงงานในทุกภูมิภาคของโลกแล้ว จากข้อมูลปี 2020 ILO ประเมินว่าแรงงานมากกว่า 2.4 พันล้านคน (จากกำลังแรงงานโลก 3.4 พันล้านคน) มีแนวโน้มต้องเผชิญกับความร้อนเกิน ขณะทำงานอย่างน้อยในบางช่วงเวลา และเมื่อคิดเป็นสัดส่วนของแรงงานโลก พบว่าสัดส่วนนี้เพิ่มขึ้นจาก 65.5% เป็น 70.9% ตั้งแต่ปี 2000
               นอกจากความร้อนสูงจัดแล้ว ยังมีปัญหาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอีกมากมาย เช่น รังสีอัลตราไวโอเลต (UV) เหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว มลพิษทางอากาศ โรคที่มีแมลงเป็นพาหะนำโรค และสารเคมีทางการเกษตร ที่ล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานที่จำเป็นต้องทำงานกลางแจ้ง ใม่ว่าจะเป็นการบาดเจ็บ โรคลมแดดและอ่อนเพลียจากความร้อน โรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น
               นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังส่งผลต่อการสูญเสียและการเปลี่ยนแปลงของงาน (Job Loss and Transition) โดยภายในปี 2030 คาดว่าชั่วโมงการทำงานทั้งหมดอาจสูญเสียไปถึง 3.8% เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คุณภาพอากาศที่ย่ำแย่ ศัตรูพาหะนำโรค น้ำท่วม และไฟป่า ก็จะส่งผลกระทบต่อแรงงาน และทำให้เกิดการสูญเสียงานด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาด ส่งเสริมการสร้าง “งานสีเขียว” (Green Jobs) ขึ้นมาใหม่ เช่น งานด้านพลังงานหมุนเวียนและงานด้านฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ในการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานยั่งยืนระดับโลก
               ดังนั้น ในยุคที่เราทุกคนต้องเผชิญกับวิกฤตโลกเดือดนี้ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จึงถือเป็นความท้าทายใหม่ของแรงงานในยุคโลกเดือดที่ต้องเตรียมพร้อมตั้งรับ ปรับตัว ในขณะเดียวกันทุกคนต้องช่วยกันปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันเพื่อลดโลกเดือด เพื่ออนาคตของประชากรทุกคนบนโลก

“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”

แหล่งที่มา :
– International Labour Organization (ILO), OSH and Climate Change, Climate change creates a ‘cocktail’ of serious health hazards for 70 per cent of the world’s workers.
– World Economic Forum, CLIMATE ACTION, 3 ways the climate crisis is impacting jobs and workers.
– ThaiPublica ไทยพับลิก้า : กล้าพูดความจริง, รายงาน ILO ชี้ Climate Change อัตรายต่อสุขภาพคนงาน ต้องทบทวนกฎหมายเดิม-ออกกฎใหม่คุ้มครอง

ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา ซื้อยางรถยนต์พร้อมติดตั้งให้กับรถยนต์ส่วนกลาง หมายเลขทะเบียน ฮพ 4044 กรุงเทพมหานคร โดยวิธีเฉพาะเจาะจง