เดือน: พฤษภาคม 2568
ข้อมสูลสาระสำคัญในสัญญา ซื้อครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์สำหรับโครงการจัดหาอุปกรณ์และระบบสำหรับห้อง Data Center และโครงการจัดหาคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงเพื่อรองรับการประมวลผลด้าน AI และงานพยากรณ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม พร้อมปรับปรุงพื้นที่ห้อง Data Center
ข้อมสูลสาระสำคัญในสัญญา จ้างก่อสร้างโครงการจ้างปรับปรุงพื้นที่ สำหรับจัดทำห้องศูนย์เรียนรู้และวิเคราะห์ข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม พร้อมติดตั้ง
เตรียมตัวให้พร้อมกับ “วันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิถุนายน 2568“ ภายใต้แนวคิด “Beat Plastic Pollution : Ending global plastic pollution” “ใช้พลาสติกอย่างเข้าใจ เปลี่ยนประเทศไทยให้ยั่งยืน“
เตรียมตัวให้พร้อมกับ “วันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิถุนายน 2568“ 🌏
ภายใต้แนวคิด “Beat Plastic Pollution : Ending global plastic pollution” “ใช้พลาสติกอย่างเข้าใจ เปลี่ยนประเทศไทยให้ยั่งยืน“
📍 พบกัน ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ ชั้น 4 โรงแรมเซ็นทารา ไลฟ์ ศูนย์ราชการ และคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร
🎥 และถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook : กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
พลาสติกกำลังคุกคามโลกและชีวิตเรา!
รู้ไหมว่าพลาสติกปนเปื้อนไปทุกหนแห่ง แม้แต่ในร่างกายเรา ถึงเวลาที่เราต้องร่วมมือกันยุติมลพิษพลาสติก เพื่อโลกที่สะอาดและอนาคตที่ยั่งยืน
สิ่งที่คุณทำได้ง่ายๆ วันนี้:
ลด : ใช้ถุงผ้า ขวดน้ำส่วนตัว กล่องอาหาร แทนพลาสติกใช้แล้วทิ้ง
แยก : คัดแยกขยะพลาสติกให้ถูกประเภทเพื่อนำไปรีไซเคิล
เลือก : สนับสนุนสินค้าที่ใช้บรรจุภัณฑ์รักษ์โลก หรือนำกลับมาใช้ซ้ำได้
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง Facebook : กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”
กรมลดโลกร้อน จัดประชุมคณะกรรมการกำกับโครงการความร่วมมือไทย – เยอรมัน ด้านพลังงาน คมนาคม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Thai – German Cooperation on Energy, Mobility and Climate: TGC-EMC) ครั้งที่ 1/2568
กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (กรมลดโลกร้อน) ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) จัดประชุมคณะกรรมการกำกับโครงการความร่วมมือไทย – เยอรมัน ด้านพลังงาน คมนาคม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Thai – German Cooperation on Energy, Mobility and Climate: TGC-EMC) ครั้งที่ 1/2568 ในวันพฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม 2568 ณ ห้องประชุมอารีย์สัมพันธ์ ชั้น 3 อาคารกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินโครงการฯ ที่ผ่านมา และพิจารณาแนวทางการดำเนินงาน/แผนการดำเนินโครงการ (Project Work Plan) ประจำปี 2568 ของแต่ละกลุ่มงานประกอบด้วย กลุ่มงานพลังงานหมุนเวียน กลุ่มงานคมนาคมขนส่ง กลุ่มงานอุตสาหกรรม กลุ่มงานพลังงานชีวมวล และการเงิน (ThaiCi) โดยมีนายปวิช เกศววงศ์ รองอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานในการประชุม พร้อมด้วยผู้แทนหน่วยงานดำเนินโครงการฯ รวมทั้งสิ้น 7 หน่วยงาน ได้แก่ นายจิรวัฒน์ ระติสุนทร รองเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.), นายสาร์รัฐ ประกอบชาติ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.), นายจิรโรจน์ ศุกลรัตน์ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.), นางอรุณี ไฮม์ม รองอธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ (TICA), คุณอินซ่า อิลเก้น ผู้แทนโครงการ TGC-EMC (GIZ), ผู้แทนกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.), ผู้แทนกรุงเทพมหานคร (กทม.), ผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) โดยที่ประชุมฯ ได้มีมติเห็นชอบต่อแผนการดำเนินงานโครงการของแต่ละกลุ่มงาน ประจำปี 2568 ซึ่งประกอบด้วย 4 ผลผลิต ได้แก่ ผลผลิตด้านเทคนิค ผลผลิตด้านนโยบาย ผลผลิตด้านโครงการนำร่อง และผลผลิตด้านการเงิน (ThaiCi)
“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”
กรมลดโลกร้อน เตรียมความพร้อมดำเนินงานตามแผนฯ เสริมพลังความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 5
กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม โดย นายโกเมศ พุทธสอน รองอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเตรียมความพร้อมการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการเสริมพลังความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 5 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 21 – 22 พฤษภาคม 2568 ณ โรงแรม เดอะ บาซาร์ แบงค็อก โดยมี นางสาวอุมา ศรีสุข ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการมีส่วนร่วมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กล่าวรายงานผลการดำเนินงานและวัตถุประสงค์การสร้างความเข้าใจ เตรียมความพร้อมการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการเสริมพลังความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Action for Climate Empowerment (ACE) ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ด้านการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. 2564 – 2573 (National Determined Contributions: NDC) สาขาพลังงาน สาขากระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ และสาขาป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดิน มีหน่วยงานเข้าร่วมประชุม 16 หน่วยงาน รวมจำนวน 43 คน ร่วมจัดทำแนวทางขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการเสริมพลังความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ระยะ 5 ปี (2568-2572) โดยมี ดร.เธียรเอก ติยพงศ์พัฒนา และ ดร.วรรณวิมล ภัทรสิริวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมเป็นวิทยากรกระบวนการ
“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”
22 พฤษภาคม วันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ International Day for Biological Diversity (IDB)
องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้วันที่ 22 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ (International Day for Biological Diversity) เพื่อรำลึกถึงวันที่อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพเริ่มมีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 และเพื่อรณรงค์ให้ประชาคมโลกเกิดความตระหนักถึงความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ และส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน
ปัจจุบันในยุคที่ทั่วโลกเผชิญกับวิกฤตสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง ทั้งปัญหา “โลกเดือด” และ “การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ” กลายเป็นสองปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์อย่างมาก และหากไม่แก้ไขอย่างจริงจัง ย่อมส่งผลต่อความมั่นคงของระบบนิเวศ เศรษฐกิจ และสังคมทั่วโลก โดยอุณหภูมิที่สูงขึ้นนั้นเร่งการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต เกิดการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลที่ส่งผลต่อวงจรชีวิตของสิ่งมีชีวิตทั่วโลก รวมทั้งยังส่งผลต่อการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตอีกด้วย
“อยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างกลมกลืนและการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ไม่เพียงเพื่อธรรมชาติ แต่เพื่ออนาคตของทุกคนทั่วโลก
“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”
แหล่งที่มา :
– สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, วันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ
ประกาศผู้ชนดการเสนอราคา ซื้อวัสดุสำนักงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยวิธีเฉพาะเจาะจง
สส.มอบรางวัลผู้ที่สวมใส่ผ้าไทยดีเด่นและเชิดชูคนทำความดี
กรมลดโลกร้อน ร่วมกับ GIZ จัดประชุมหารือและนำเสนอผลการคัดเลือกพื้นที่นำร่องทางทะเลและชายฝั่ง จ.ชุมพร
วันที่ 21 พฤษภาคม 2568 กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย และมหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่ปรึกษาโครงการ จัดประชุมและเปิดตัวกิจกรรมบูรณาการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพ และการท่องเที่ยวทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืนในจังหวัดชุมพร ภายใต้โครงการ Climate, Coastal and Marine Biodiversity (CCMB) ณ โรงแรมนานาบุรี จังหวัดชุมพร โดยได้รับเกียรติจากนายปวิช เกศววงศ์ รองอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุม และว่าที่ร้อยตรี กิตติภพ รอดดอน รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร กล่าวเปิดการประชุม พร้อมด้วยนางสาวระเบียบ ภูผา ผู้อำนวยการกองขับเคลื่อนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา ภาคประชาสังคมในระดับพื้นที่ รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง
การประชุมในครั้งนี้ ที่ปรึกษาโครงการได้นำเสนอข้อมูลเชิงพื้นที่ของจังหวัดชุมพร กรอบแนวคิดการดำเนินงาน ผลลัพธ์ของโครงการ และผลการคัดเลือกพื้นที่นำร่องทางทะเลและชายฝั่ง 5 พื้นที่ ได้แก่ อ่าวบางสนและอ่าวน้ำเมา บ้านละแม เกาะร้านเป็ด-ร้านไก่ หาดคอเขา และกองหินสามเหลี่ยม รวมถึงหารือการสนับสนุนการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ ซึ่งผู้เข้าร่วมได้ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นการให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพนอกพื้นที่คุ้มครอง (OECMs) การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในสาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สาขาการท่องเที่ยว และสาขาเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร รวมถึงการมีส่วนร่วมและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและชายฝั่ง ตลอดจนแนวทางการขับเคลื่อนการกำหนด กฎ กติการ่วมกัน และนำไปสู่การจัดทำแผนในระดับภาคประชาชน เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติอย่างยั่งยืน
“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”