“ลุงต่อ” พาน้องหมูเด้ง สร้างสีสันในงานวันเด็กแห่งชาติ ปี 2568 เสริมสร้างการเรียนรู้ ร่วมปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไทย

​วันนี้ (11 มกราคม 2568) ดร. เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดงานวันเด็กแห่งชาติ ปี 2568 ภายใต้แนวคิด “รวมพลังเด็กไทย Kids เปลี่ยนโลก” พาน้องหมูเด้ง ร่วมสร้างสีสัน ส่งเสริมการเรียนรู้บทบาทหน้าที่ของเด็กและเยาวชน พร้อมให้คำมั่นจะปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศส่งต่อให้ลูกหลานไทย ณ บริเวณโซนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำเนียบรัฐบาล
ดร. เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้เห็นถึงความสำคัญของเด็กๆ ที่เป็นอนาคตของชาติที่สำคัญในการช่วยพัฒนาประเทศและช่วยดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่ง ทส. ได้จัดกิจกรรมเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ มาอย่างต่อเนื่องทุกปี และปี 2568 จัดกิจกรรม ภายใต้แนวคิด “รวมพลังเด็กไทย Kids เปลี่ยนโลก” ณ บริเวณโซนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำเนียบรัฐบาล เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้บทบาทหน้าที่ของเด็กและเยาวชน มีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศให้เกิดความยั่งยืน พร้อมตั้งรับ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดปัญหาโลกเดือด โดยในปีนี้ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มอบคำขวัญเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2568 ว่า “ทุกโอกาส คือ การเรียนรู้ พร้อมปรับตัวสู่อนาคตที่เลือกเอง”
สำหรับวันนี้ พี่ๆ จากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้จัดกิจกรรมที่เต็มไปด้วยความสนุกสนานพร้อมสาระความรู้มากมาย ประกอบด้วย 3 โซน ได้แก่ 1) “โซนการเรียนรู้ด้านทรัพยากรน้ำในแผ่นดิน” เรียนรู้คุณค่าของน้ำ รวมถึงเครื่องเตือนภัย Early Warning 2) “โซนการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อม” เรียนรู้การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในชีวิตประจำวัน การลดขยะอาหาร ลดโลกเดือด ความหลากหลายชีวภาพของไทย และ 3) “โซนการเรียนรู้ด้านทรัพยากรธรรมชาติ” เรียนรู้เกี่ยวกับสัตว์ป่า ป่าไม้ช่วยลดโลกเดือด ทะเลสวยด้วยมือเรา การขุดซากดึกดำบรรพ์ นอกจากนี้มีกิจกรรมบนเวทีกลาง ตอบคำถามชิงรางวัล รวมถึงกิจกรรมไฮไลท์ให้เด็ก ๆ ได้ถ่ายภาพกับโมเดล “น้องหมูเด้ง” อีกทั้ง ชมขบวนพาเหรดมาสคอตสัตว์โลกน่ารัก พร้อมด้วยเจ้าหญิง เจ้าชาย และผองเพื่อน ที่มาร่วมสร้างสีสันกว่า 30 ตัว อาทิ น้องหยดน้ำ น้องโลมา น้องเต่า น้องวาฬ น้องพะยูน เป็นต้น และยังมีวงโยธวาทิต เพื่อให้เด็ก ๆ ได้สนุกสนานกับกิจกรรมไปพร้อมกับการสอดแทรกสาระความรู้และสุขใจไปกับของรางวัลที่ทุกหน่วยงานได้จัดเตรียมไว้ และที่สำคัญการจัดกิจกรรมในครั้งนี้เป็นการจัดกิจกรรมแบบ Net Zero Event มีการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้น โดยเลือกชดเชยจากโครงการที่มีการดูดกลับคาร์บอนหรือ โครงการที่มีเทคโนโลยีกักเก็บคาร์บอน เพื่อมาชดเชยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์
“สุดท้าย ขอให้เด็กๆ ทุกคนมีความสุขและสนุกในการเรียนรู้ มีอนาคตที่สดใส ร่วมกันเป็นพลังสำคัญในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน แม้เพียงเล็กๆ น้อยๆ เช่น ประหยัดน้ำ ประหยัดพลังงาน ลดและแยกขยะให้ถูกประเภท ปลูกต้นไม้ในบริเวณบ้าน เท่านี้เด็กๆ ก็สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นให้กับโลกของเราได้” ดร. เฉลิมชัย กล่าว

“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”

“กรมลดโลกร้อน” เสริมองค์ความรู้ เครือข่าย ทสม. 20 พื้นที่ 4 ภูมิภาค พัฒนาต้นแบบชุมชนคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน

วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม 2568 กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเปิดตัวโครงการพัฒนาต้นแบบชุมชนคาร์บอนต่ำด้านการจัดการขยะชุมชนและการเกษตร เพื่อสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจกในระดับพื้นที่ เป็นวันที่ 2 ณ ห้องประชุมอารีย์สัมพันธ์ ชั้น 3 อาคารกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีเวทีเสวนาในหัวข้อ “ทิศทางการขับเคลื่อนชุมชนคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน” เพื่อสร้างความเข้าใจถึงกลไกที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนโครงการสู่ความยั่งยืน โดยมีวิทยากร จากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน มาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ในโอกาสนี้ นายโกเมศ พุทธสอน รองอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ให้เกียรติกล่าวปิดการประชุมฯ และให้กำลังใจแก่เครือข่าย ทสม. ทั้ง 20 พื้นที่ ในการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการดังกล่าว ให้บรรลุเป้าหมาย วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด และสามารถดำเนินกิจกรรมให้เป็นไปตามแผนงานอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”

ทส. เปิดตัวโครงการพัฒนาต้นแบบชุมชนคาร์บอนต่ำ เพิ่มโอกาสเข้าถึงแหล่งทุน 17.8 ล้านบาท เสริมพลังเครือข่าย ทสม. 20 พื้นที่ 4 ภูมิภาค ขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำ

วันที่ 8 มกราคม 2568 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เปิดตัว “โครงการพัฒนาต้นแบบชุมชนคาร์บอนต่ำด้านการจัดการขยะชุมชนและการเกษตร เพื่อสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจกในระดับพื้นที่” เสริมพลังเครือข่าย ทสม. 20 พื้นที่ต้นแบบ 4 ภูมิภาค ขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำ ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร. เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานในพิธีเปิดตัวโครงการ พร้อมด้วย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้บริหารกระทรวงฯ ร่วมเป็นเกียรติ และดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กล่าวรายงาน โดยมีเครือข่าย ทสม. 19 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร เจ้าหน้าที่ ทสจ. 19 จังหวัด เจ้าหน้าที่ประสานความร่วมมือและพัฒนาเครือข่าย และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมกว่า 200 คน ณ ห้องประชุมอารีย์สัมพันธ์ ชั้น 3 อาคารกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ปัจจุบันโลกกำลังเผชิญกับปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงขึ้น ทั้งสถานการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปี 2567 เกิดภัยธรรมชาติที่รุนแรงอย่างเห็นได้ชัด เช่น ฝนตกหนัก น้ำท่วม และพายุที่รุนแรงในหลายภูมิภาคทั่วโลก ส่งผลกระทบในทุกมิติ จึงเป็นปัญหาที่ต้องเร่งป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบ โดยในการประชุม COP29 ที่ผ่านมา ได้มีข้อตัดสินใจสำคัญ คือ 1) การจัดทำเป้าหมายทางการเงินครั้งใหม่ ซึ่งประเทศพัฒนาแล้วจะต้องสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาอย่างน้อย 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี ภายในปี ค.ศ. 2035 2) การจัดทำเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก ในปี ค.ศ. 2035 หรือ NDC 3.0 ต้องสอดคล้องกับเป้าหมาย 1.5 องศาเซลเซียส ของความตกลงปารีส 3) การเริ่มดำเนินการของกองทุนการสูญเสียและความเสียหายภายในปี ค.ศ. 2025 เพื่อช่วยประเทศที่เปราะบางรวมถึงประเทศไทย สามารถรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ 4) ความชัดเจนของตัวชี้วัดด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับโลกที่เชื่อมโยงในระดับประเทศ
ดร.เฉลิมชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า ประเทศไทยได้ดำเนินการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเต็มที่ โดยรัฐบาลได้ผลักดันกฎหมาย นโยบาย และมาตรการต่างๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของทุกภาคส่วน ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เร่งการจัดทำร่าง พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนการทำงานภายใต้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนสู่การบรรลุเป้าหมายประเทศ โดยเฉพาะการสนับสนุนภาคประชาชน เป็นภาคส่วนสำคัญให้มีส่วนร่วมกับการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงเปิดโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุนทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อเสริมศักยภาพและขีดความสามารถในการตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของทุกภาคส่วน ซึ่งเครือข่าย ทสม. เป็นเครือข่ายอาสาสมัครภาคประชาชนที่มีความเข้มแข็งในการขับเคลื่อนกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม ที่มีอยู่ 290,000 คน ทั่วประเทศ และเป็นต้นแบบเครือข่ายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับพื้นที่ ดังนั้น การได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อมจำนวน 17.8 ล้านบาท ในโครงการนี้ จะเป็นส่วนเสริมพลังในการขับเคลื่อนกิจกรรมด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในพื้นที่ต้นแบบ 20 พื้นที่ 4 ภูมิภาค เพื่อขยายผลสู่พื้นที่อื่นๆ และพร้อมยกระดับการทำงานร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ในอนาคต เพื่อร่วมขับเคลื่อนประเทศ มุ่งสู่เศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำและยั่งยืน
“หลังจากสิ้นสุดโครงการนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ต้นแบบชุมชนคาร์บอนต่ำโดยเครือข่าย ทสม. 20 พื้นที่ จะเป็นผู้สื่อสารและส่งเสริมให้เกิดรูปแบบการดำเนินกิจกรรมการลดก๊าซเรือนกระจกของชุมชนและประชาชน ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด และสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษในพื้นที่อย่างใกล้ชิด นำไปสู่การขยายผลในพื้นที่อื่นๆ ทั่วประเทศ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยได้” ดร.เฉลิมชัย กล่าว
ทั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายของโครงการพัฒนาต้นแบบชุมชนคาร์บอนต่ำด้านการจัดการขยะชุมชนและการเกษตร เพื่อสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจกในระดับพื้นที่ เป็นพื้นที่ เครือข่าย ทสม. ระดับตำบล ที่มีศักยภาพและมีการดำเนินกิจกรรมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้านการจัดการขยะชุมชน 16 พื้นที่ และด้านการเกษตร 4 พื้นที่ รวม 20 พื้นที่ ใน 19 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร ครอบคลุม 4 ภูมิภาค

“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”

กรมลดโลกร้อน นับถอยหลังเตรียมความพร้อมจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2568 ทำเนียบรัฐบาล : รวมพลังเด็กไทย Kids เปลี่ยนโลก

วันนี้ (7 มกราคม 2568) ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานการประชุมเตรียมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2568 พร้อมด้วยนายโกเมศ พุทธสอน รองอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการเตรียมงานของหน่วยงานภายในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ณ ห้องประชุมอารีย์สัมพันธ์ ชั้น 3 กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
งานวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2568 ปีนี้ ทส. จัดกิจกรรมให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีจิตสำนึกที่ดีด้านสิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วมปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศให้เกิดความยั่งยืน ภายใต้แนวคิด “รวมพลังเด็กไทย Kids เปลี่ยนโลก” ในวันเสาร์ที่ 11 มกราคม 2568 ณ บริเวณโซนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำเนียบรัฐบาล โดยมีการแบ่งโซนกิจกรรมการเรียนรู้ออกเป็น 3 โซน ได้แก่ 1) โซนการเรียนรู้ด้านทรัพยากรน้ำในแผ่นดิน 2) โซนการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อม และ 3) โซนการเรียนรู้ด้านทรัพยากรธรรมชาติ พร้อมด้วยกิจกรรมไฮไลท์ อาทิ การถ่ายภาพกับโมเดล “น้องหมูเด้ง” ขบวนพาเหรดมาสคอต การรณรงค์ให้ความรู้เรื่องลดขยะอาหาร ลดโลกเดือด และกิจกรรมร่วมสนุกบนเวทีกลางเพื่อรับของรางวัลมากมาย รวมทั้งยังได้จัดเตรียมอาหาร ขนมและเครื่องดื่มไว้สำหรับเด็กทุกคนที่เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งเด็ก ๆ สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่เวลา 8.00 – 15.00 น. ณ บริเวณโซนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำเนียบรัฐบาล

“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”

ทส. ประชุมเตรียมจัดงาน “วันเด็ก 2568” ทำเนียบรัฐบาล : รวมพลังเด็กไทย Kids เปลี่ยนโลก

วันนี้ (2 มกราคม 2568) นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ปกท.ทส.) เป็นประธานการประชุมเตรียมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2568 ทำเนียบรัฐบาล ร่วมกับหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงฯ โดยมี ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม และนายปวิช เกศววงศ์รองอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม นำเสนอแนวคิดและภาพรวมของการจัดงานในครั้งนี้ ณ ห้องประชุม ชั้น 17 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งกระทรวงฯ ร่วมกับสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จัดกิจกรรมให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นประจำทุกปี เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีจิตสำนึกที่ดีด้านสิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วมปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศให้เกิดความยั่งยืน โดยในปีนี้ นายกรัฐมนตรี (นางสาวแพทองธาร ชินวัตร) ได้มอบคำขวัญเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปีพุทธศักราช 2568 ว่า “ทุกโอกาส คือ การเรียนรู้ พร้อมปรับตัวสู่อนาคตที่เลือกเอง”
โดยกระทรวงฯ ได้เตรียมการจัดกิจกรรมเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2568 ทำเนียบรัฐบาล ภายใต้แนวคิด “รวมพลังเด็กไทย Kids เปลี่ยนโลก” ซึ่งจะมีการแบ่งโซนกิจกรรมการเรียนรู้ออกเป็น 3 โซน ได้แก่ 1) โซนการเรียนรู้ลดโลกเดือดด้านทรัพยากรน้ำในแผ่นดิน 2) โซนการเรียนรู้ลดโลกเดือดด้านสิ่งแวดล้อม และ 3) โซนการเรียนรู้ลดโลกเดือดด้านทรัพยากรธรรมชาติ พร้อมด้วยกิจกรรมไฮไลท์ บูธถ่ายภาพกับโมเดล “น้องหมูเด้ง” ขบวนพาเหรดมาสคอต รณรงค์ลดขยะอาหาร และกิจกรรมร่วมสนุกบนเวทีกลางรับของรางวัลมากมาย

“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”

กรมลดโลกร้อน จัดส่งรายงานความโปร่งใสรายสองปี ฉบับที่ 1 (Thailand First Biennial Transparency Report : BTR1) ทันตามกำหนดภายในปี ค.ศ. 2024

กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (กรมลดโลกร้อน) ได้จัดทำรายงานความโปร่งใสรายสองปี ฉบับที่ 1 (Thailand’s First Biennial Transparency Report : BTR1) ตามที่ประเทศไทยในฐานะประเทศภาคีของกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ซึ่งต้องจัดทำรายงานความโปร่งใสรายสองปี ทุก ๆ 2 ปี เพื่อสื่อสารสิ่งที่ประเทศไทยได้ดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อประชาคมโลก และเป็นเครื่องมือในการขอรับการสนับสนุน เทคโนโลยี องค์ความรู้ การเสริมสร้างศักยภาพแหล่งเงินทุนต่างประเทศ เพื่อขับเคลื่อนให้เป็นไปตามเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ โดยประเทศไทยได้จัดส่งรายงาน BTR1 ไปยัง UNFCCC เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2024
รายงานความโปร่งใสรายสองปี ฉบับที่ 1 มีเนื้อหาหลักดังนี้ 1) สภาวการณ์ของประเทศ 2) บัญชีก๊าซเรือนกระจกของประเทศ นำเสนอปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000-2022 โดยในปี ค.ศ. 2022 มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิ 278,039.73 ktCO2eq (รวมภาคป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดิน) และมีปริมาณการล่อยก๊าซเรือนกระจก 385,941.14 ktCO2eq (ไม่รวมภาคป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดิน) 3) ความก้าวหน้าของการดำเนินงานด้านการลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย NDC ในปี ค.ศ. 2021 – 2022 ประไทยมีปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจกทั้งสิ้น 60.33 MtCO2eq และ 65.23 MtCO2eq ตามลำดับ สำหรับความก้าวหน้าในการดำเนินงานตาม NDC ภายใต้มาตรา 4 ของความตกลงปารีส ประเทศไทยมีความก้าวหน้าในการดำเนินงานที่ร้อยละ 30.46 เมื่อเทียบกับ BAU และการถ่ายโอนคาร์บอนเครดิตระหว่างประเทศทั้งสิ้น 1,916 tCO2eq ซึ่งเป็นปีแรกที่มีการถ่ายโอนคาร์บอนเครดิตระหว่างประเทศ 4) ผลกระทบและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และนำร่องด้านการปรับตัว 6 สาขา จำนวน 6 จังหวัด และ 5) การเงิน การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี และข้อจำกัด ช่องว่าง ความต้องการและการสนับสนุนที่ได้รับ วงเงินประมาณ 38,668.47 ล้านบาท หรือ 1,102.92 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ

“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”

กรมลดโลกร้อน จัดอบรมต่อต้านการทุจริต พร้อมมอบนโยบาย No Gift Policy

วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม 2567 ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดโครงการอบรมต่อต้านการทุจริต และผลประโยชน์ทับซ้อน พร้อมมอบนโยบายการไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิด จากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy) ต่อคณะผู้บริหาร ข้าราชการ พนักงานราชการ และเจ้าหน้าที่ทุกคนเพื่อให้รับทราบและถือปฏิบัติ โดยมี นายปวิช เกศววงศ์ รองอธิบดีฯ นายโกเมศ พุทธสอน รองอธิบดี์ เข้าร่วมกิจกรรม พร้อมกันนี้ กลุ่มงานจริยธรรม ได้จัดเวทีเสวนาในหัวข้อ “มุมมองและการสร้างค่านิยมในการพัฒนาระบบราชการไทย ให้โปร่งใสไร้ประโยชน์ทับซ้อน” ประกอบกับการบรรยายในหัวข้อ “กฎหมาย/ระเบียบที่เกี่ยวข้อง ในแนวทางการขับเคลื่อนนโยบาย No Gift Policy” โดยได้รับเกียรติจากชมรม STRONG NT บริษัท โทรคมนาคม แห่งชาติ จำกัด (มหาชน) และสำนักงาน ป.ป.ท. เป็นวิทยากรเสวนาและบรรยายให้ความรู้ในเรื่องดังกล่าว เพื่อส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีจิตสำนึกในการปฏิเสธการรับของขวัญ และของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ สร้างค่านิยม ปรับเปลี่ยนทัศนคติ นำไปสู่พฤติกรรมที่ตระหนักรู้เรื่องความซื่อสัตย์สุจริต การป้องกันการทุจริตและผลประโยชน์ทับซ้อน

“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”

DCCE ส่งมอบถังเติมบุญให้กับ ช่อง 7HD ขยายจุด Drop Point รับคืนวัสดุใช้แล้วเข้าสู่ระบบรีไซเคิล

วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม 2567 ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม นำคณะผู้บริหารกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ร่วมส่งมอบ “ถังเติมบุญ” ให้กับช่อง 7HD โดยโครงการ 7 สี ปันรักให้โลก โดยมีคุณบี กมลาส์น เอียดศรีชาย และคุณบอย ธนพัต กิตติบดีสกุล ผู้ประกาศข่าว เป็นผู้แทนรับมอบ เพื่อร่วมกันดำเนินงานขยายจุด Drop Point รับคืนกระป๋องอลูมิเนียมใช้แล้ว ในโครงการ Recycle for Life เพื่อมูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ส่งเสริมการนำบรรจุภัณฑ์ที่ผ่านการใช้แล้วกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลหรือทำประโยชน์ใหม่ และเพื่อให้เกิดกระแสสังคมให้ทุกคนหันมาร่วมปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมนำไปสู่การสร้างสังคมแห่งการรีไซเคิล
ทั้งนี้ ในปี 2568 มีเป้าหมายสนับสนุนการผลิตขาเทียม จำนวน 100 ขา ร่วมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้ผู้พิการที่มีความยากไร้ พร้อมตั้งเป้ารวบรวมบรรจุภัณฑ์กลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลกว่า 5 ล้านใบ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 570 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า บรรลุตามเป้าหมายแผนปฏิบัติการ (Action plan) ส่งเสริมการจัดการระบบการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มแบบครบวงจรในประเทศไทย (พ.ศ. 2564 – 2568) โดยประชาชนที่สนใจ สามารถร่วมบริจาคกระป๋องอลูมิเนียมใช้แล้วผ่านจุดรับคืน (Drop Point) ในห้างสรรพสินค้า Big C ใกล้บ้าน จำนวน 192 สาขาทั่วประเทศ

“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”

กรมลดโลกร้อน จัดกิจกรรมเสริมสร้างความร่วมมือเครือข่ายสื่อมวลชน “DCCE Partners : Together to Net Zero”

วันที่ 26 ธันวาคม 2567 กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม หรือ กรมลดโลกร้อน จัดกิจกรรมเสริมสร้างความร่วมเครือข่ายสื่อมวลชนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม “DCCE partners : Together to Net Zero” โดยมี ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรม พร้อมด้วย นายปวิช เกศววงศ์ รองอธิบดีฯ นายโกเมศ พุทธสอน รองอธิบดีฯ ผู้บริหารกรมฯ และสื่อมวลชนกว่า 35 คน ร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูล และ ข้อคิดเห็นในการสื่อสารสร้างความตระหนักรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ณ ห้องประชุมอารีย์สัมพันธ์ ชั้น 3 อาคารกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ดร.พิรุณ ได้กล่าวถึงแผนและทิศทางการดำเนินงานของกรมการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมในปีหน้า รวมถึงความสำคัญของเครือข่ายสื่อมวลชนที่จะช่วยเป็นกระบอกเสียงในการสื่อสารไปสู่ประชาชนและภาคส่วนต่างๆ ให้เกิดการรับรู้ เสริมสร้างความสามารถในการปรับตัว และเกิดพลังความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปสู่เป้าหมายร่วมกันได้
“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”

กรมลดโลกร้อน สร้างความร่วมมือ ทสจ. ขับเคลื่อนเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

วันนี้ (7 มกราคม 2568) ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานการประชุมเตรียมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2568 พร้อมด้วยนายโกเมศ พุทธสอน รองอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการเตรียมงานของหน่วยงานภายในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ณ ห้องประชุมอารีย์สัมพันธ์ ชั้น 3 กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
งานวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2568 ปีนี้ ทส. จัดกิจกรรมให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีจิตสำนึกที่ดีด้านสิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วมปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศให้เกิดความยั่งยืน ภายใต้แนวคิด “รวมพลังเด็กไทย Kids เปลี่ยนโลก” ในวันเสาร์ที่ 11 มกราคม 2568 ณ บริเวณโซนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำเนียบรัฐบาล โดยมีการแบ่งโซนกิจกรรมการเรียนรู้ออกเป็น 3 โซน ได้แก่ 1) โซนการเรียนรู้ด้านทรัพยากรน้ำในแผ่นดิน 2) โซนการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อม และ 3) โซนการเรียนรู้ด้านทรัพยากรธรรมชาติ พร้อมด้วยกิจกรรมไฮไลท์ อาทิ การถ่ายภาพกับโมเดล “น้องหมูเด้ง” ขบวนพาเหรดมาสคอต การรณรงค์ให้ความรู้เรื่องลดขยะอาหาร ลดโลกเดือด และกิจกรรมร่วมสนุกบนเวทีกลางเพื่อรับของรางวัลมากมาย รวมทั้งยังได้จัดเตรียมอาหาร ขนมและเครื่องดื่มไว้สำหรับเด็กทุกคนที่เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งเด็ก ๆ สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่เวลา 8.00 – 15.00 น. ณ บริเวณโซนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำเนียบรัฐบาล

“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”